ซุ้มประตูวัด : เป็นองค์ประกอบทางศิลปสถาปัตยกรรมชุดแรกที่จะต้องพบก่อนเข้าสู่พุทธสถานใดๆ ด้วยเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางเข้าออกของพระอาราม ซุ้มประตูนี้อาจต้องมีหลายๆจุด สำหรับเอื้อต่อการเข้าถึงทั้งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยสะดวก แต่จะต้องมีจุดใดจุดหนึ่งที่เป็นประตูหลัก ที่เป็นทางเข้าสู่ภายในยังศูนย์กลางประธาน
ตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ตั้งหรือตำแหน่งรวมทั้งลักษณะรูปแบบของซุ้มประตูวัดนั้น ขึ้นอยู่กับความสำคัญและขนาดของวัด กล่าวคือ หากเป็นวัดสำคัญๆก็นิยมให้มีซุ้มประตูทางเข้า เข้าออกได้ทั้ง 4 ด้าน โดยอาจจะเป็น 2-3 ประตูสำหรับวัดขนาดใหญ่ และจะให้ซุ้มประตูทางเข้าหลักนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับแนวแกนประธานของพระอุโบสถและพระเจดีย์ ซึ่งมักจะกำหนดให้อยู่ตรงกึ่งกลางของผังเป็นส่วนใหญ่ แต่แม้แนวแกนประธานจะไม่อยู่ตรงกลางผัง ก็จะทำซุ้มประตูตรงแนวแกนประธานเป็นหลักเพื่อเป็นการดึงความรู้สึก ความตั้งใจและสมาธิทั้งหมดของผู้มาวัดตรงเข้าไปสู่จุดศูนย์กลางสำคัญของอาคารประธานในผังในทันใดอย่างไรก็ตามในสมัยอยุธยา ปรากฏว่ามีวัดกลุ่มหนึ่งที่นิยมการออกแบบให้ใช้ซุ้มประตูทางเข้าแบบ “ซุ้มคู่” โดยกำหนดให้ตำแหน่งที่ตั้งนั้นประกบขนาบอยู่ข้างแนวแกนประธานเข้าสู่ลานร่วมขนาดเล็กและรวบทางเดินเป็นสายเดียวเข้าสู่แนวแกนประธานอนึ่ง วัดบางแห่งมีแนวกำแพง 2 ชั้น คือชั้นนอกเป็นกำแพงวัด และชั้นในเป็นกำแพงเขตพุทธาวาส มีการทำซุ้มประตูทั้งสองแนว เช่นวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ ลักษณะและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเนื่องจากซุ้มประตูวัดเป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นทางเข้าออกระหว่างโลกภายในและโลกภายนอกดังกล่าว การกำหนดลักษณะของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจึงจำเป็นต้องเน้นให้เป็นจุดเด่น แตะตาหรือสังเกตเห็นได้ง่าย แต่ก็มีข้อกำหนดอยู่ที่รูปแบบลักษณะและขนาดจะต้องไม่ไปทำลายคุณค่าความงามของอาคารประธานภายในนั้นโดยทั่วไปแล้วการทำซุ้มประตูประกอบกำแพงของวัด จะใช้วิธีการก่อสร้างด้วยระบบเครื่องก่อเป็นหลักนับแต่ฐานถึงยอด ยกเว้นซุ้มประตูที่ต้องการมีรูปทรงหลังคาเป็นอย่างทรงคฤห์ ก็จะก่ออิฐถือปูนถึงส่วนเรือนแล้วตั้งเครื่องบนด้วยโครงสร้างหลังคาไม้ มุงกระเบื้อง ตกแต่งหลังคาด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ อาจมีหรือไม่มีหน้าบัน ขนาดของซุ้มประตูทั่วไปมักอยู่ในระยะกว้างประมาณ 1.50-2.00 เมตร และสูงประมาณ 2.50-4.00 เมตร (ไม่นับรวมระยะเครื่องบน) ส่วนชนิดเครื่องก่อทั้งหลังมีบ้างที่ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ บ้างประดับกระเบื้องเคลือบสี บ้างปั้นปูนประดับลายและบ้างก็ใช้วัสดุบุ เช่น หินอ่อน ฯลฯ บานเปิดปิดรวมทั้งกรอบเช็ดหน้าล้วนใช้เครื่องไม้ทั้งสิ้น ตัวบานบ้างเรียบ บ้างก็แกะสลักลาย บ้างเขียนสี บ้างเขียนลายรดน้ำ ซึ่งอาจเป็นรูปทวารบาล หรือ เซี่ยวกาง หรือลายไม้ดอกต่างๆ หรืออื่นๆประกอบลักษณะและรูปแบบโดยทั่วไปในงานสถาปัตยกรรมไทยของซุ้มประตูวัด แบ่งตามลักษณะของรูปทรงหลังคาได้ 8 อย่าง คือ1. ทรงบัณแถลง หมายถึง ซุ้มประตูที่ทำเป็นรูปโค้งแหลม กรอบซุ้มปั้นปูนด้วยการใช้เครื่องประดับแบบช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูลักษณะนี้ใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา 2. ทรงโค้ง หมายถึง ซุ้มประตูที่เป็นเครื่องก่อทั้งหมด ส่วนยอดซุ้มก่อเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูประเภทนี้ น่าจะถือได้ว่าพัฒนารูปแบบจากแบบทรงบัณแถลงที่เป็นรูปโค้งแหลมมาเป็นโค้งกลม เป็นแบบที่นิยมกัมากในยุคสมัยรัตนโกสินทร์นับแต่รัชกาลที่ 3 ลงมาเมื่อประเทศไทยรับอิทธิพลและรูปแบบวัฒนธรรมจากตะวันตก 3. ทรงคฤห์ หมายถึง ซุ้มประตูที่ก่ออิฐรับยอดซุ้มที่เป็นหลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วเหมือนเรือนพักอาศัย การออกแบบซุ้มประตูลักษณะนี้ มักจะใช้วิธีการหันข้างเรือนออก
4.ทรงคฤห์แบบตรีมุข หมายถึง ซุ้มประตูแบบทรงคฤห์ที่เพิ่มมุขกลางประกอบด้านข้างอีกมุขหนึ่ง เพื่อใช้เน้นเป็นทางเข้าของด้านหน้าวัดโดยตรง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14618.0;wap2