ตอนที่ 1 ประวัติโดยสังเขป
วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย(วัดเขาสาป)
ตั้งอยู่ เขาสาป หมู่บ้านจำรุง 108/2 หมู่ 1 ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
__________________________________________
ตำนานวัดเขาสาป
เขาสาปสาปแต่ชื่อ เขานั้นหรือจะสาปใคร
สามัคคีธัมโมทัย มงคลคีรีนิรันดร
ชาติศาสน์กษัตริย์ จักยืนหยัดไม่โยกคลอน
เพราะฟังคำสั่งสอน พระพุทธองค์ชี้นำทาง
ศีลสมาธิปัญญา คือมรรคาที่จัดวาง
ดับทุกข์ดับครวญคราง ดับนิวรณ์โลกียชน
มนุษยสมบัติสวรรค์สมบัติ ฤาเลาะลัดสู่หลุดพ้น
พุทธธรรมนำมวลชน จักล่วงพ้นอบายภูมิเทอญ
วัดนี้ ได้มีการริเริ่มคิดสร้างเมื่อ พ.ศ.2495
โดยครั้งแรก นายอุทัย เจริญสวัสดิ์ ได้ชวน นายสำเริง อรัญนาถและ นายโพล้ง ฟุ้งเฟื่อง ชาวบ้านช่น เป็นผู้นำทางให้ขึ้นเที่ยวบนภูเขาสาป นายโพล้งได้นำไต่ขึ้นทางด้านหินขาวเมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว นายอุทัยเกิดความรู้สึกอยากให้เขาลูกนี้เป็นวัดแต่ก็ไม่ได้บอกกล่าวกับผู้ที่ขึ้นไปด้วย เมื่อกลับกรุงเทพฯแล้วไม่นาน
นายเฉียม ชลศิริ ชาวบ้านจำรุง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับเขาสาปได้มาพบนายอุทัย นายอุทัยได้ชักชวน
นายเฉียมให้ช่วยกันชักชวนชาวบ้านจำรุงให้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นที่เขาสาป ซึ่งนายเฉียมก็ตกลงและยินดี
ยกที่ดินให้เพื่อการก่อสร้างโดยมีที่ดินติดต่อกับเขาสาป ซึ่งเป็นที่ของนางแกว ภรรยานายเฉียมซึ่งเป็นสวนมะม่วงกับขนุน โดยนายอุทัยจะเป็นฝ่ายจัดหาเงินมาดำเนินการก่อสร้าง และลำดับต่อมามีผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด
อีก 4 รายคือ นายไทย ขวัญม่วง, นายเสริญ อินพรหม, นายจั๋ง จาระติกรรมา และนายป่อง ชลสวัสดิ์
ซึ่งทั้ง 4 ท่านนี้มีที่ดินอยู่ในบริเวณติดต่อแนวเดียวกันกับเขาสาปเช่นกัน
โดยครั้งแรก นายอุทัย เจริญสวัสดิ์ ได้ชวน นายสำเริง อรัญนาถและ นายโพล้ง ฟุ้งเฟื่อง ชาวบ้านช่น เป็นผู้นำทางให้ขึ้นเที่ยวบนภูเขาสาป นายโพล้งได้นำไต่ขึ้นทางด้านหินขาวเมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว นายอุทัยเกิดความรู้สึกอยากให้เขาลูกนี้เป็นวัดแต่ก็ไม่ได้บอกกล่าวกับผู้ที่ขึ้นไปด้วย เมื่อกลับกรุงเทพฯแล้วไม่นาน
นายเฉียม ชลศิริ ชาวบ้านจำรุง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับเขาสาปได้มาพบนายอุทัย นายอุทัยได้ชักชวน
นายเฉียมให้ช่วยกันชักชวนชาวบ้านจำรุงให้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นที่เขาสาป ซึ่งนายเฉียมก็ตกลงและยินดี
ยกที่ดินให้เพื่อการก่อสร้างโดยมีที่ดินติดต่อกับเขาสาป ซึ่งเป็นที่ของนางแกว ภรรยานายเฉียมซึ่งเป็นสวนมะม่วงกับขนุน โดยนายอุทัยจะเป็นฝ่ายจัดหาเงินมาดำเนินการก่อสร้าง และลำดับต่อมามีผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด
อีก 4 รายคือ นายไทย ขวัญม่วง, นายเสริญ อินพรหม, นายจั๋ง จาระติกรรมา และนายป่อง ชลสวัสดิ์
ซึ่งทั้ง 4 ท่านนี้มีที่ดินอยู่ในบริเวณติดต่อแนวเดียวกันกับเขาสาปเช่นกัน
ต่อมาในปี พ.ศ.2500 นายจำเนียร เจียมสมบูรณ์ หัวหน้าแผนกรังวัดที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหา-กษัตริย์ ได้มาขอให้นายอุทัยช่วยเหลือพาพระพม่าและชาวพม่าเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อชมวัดต่างๆ
ซึ่งนายอุทัยได้ตกลงช่วยเหลือ นำเที่ยวจังหวัดนครปฐม อยุธยา สระบุรี และล่องน้ำดูวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระและชาวบ้านพม่าเหล่านี้ต่างมาในงานฉลองพุทธศตวรรษ 2500 ปี โดยอาศัยพักอยู่ที่
วัดประดิษฐาราม(วัดมอญ เจริญพาสน์) ซึ่งนายจำเนียรมีบ้านใกล้กับวัดนี้ โดยมีพระสุชิน ญาณรังษี
เมื่อหมดงานฉลอง 2500 ปีแล้ว พระและพม่าต่างขอบใจในความเอื้อเฟื้อของนายอุทัยจึงจะขอตอบแทนบ้าง นายจำเนียรทราบดีว่านายอุทัยกำลังคิดสร้างวัดกันอยู่ จึงปรึกษากันว่า วัดที่สร้างนี้ถ้าได้ของแปลกไว้ประจำวัดก็จะดี ดังนั้นนายอุทัยจึงขอให้ช่วยสร้างพระประธานหินอ่อนและพระพุทธบาทจำลองหินอ่อนไว้ประจำวัดที่จะสร้างขึ้น ให้มีองค์ใหญ่พอสมควร ซึ่งพระและชาวพม่าได้ตกลงจะช่วยสร้างให้ และเพื่อความรวดเร็วนายอุทัยได้มอบเงินมัดจำไปก่อน 60,000 บาท เมื่อตกลงราคากันจริงเท่าใดให้แจ้งมา แล้วจะส่งเงินไปเพิ่มให้ทันที
หลังจากนั้นปลายเดือนธันวาคม 2501 ได้มี
พระพม่า 2 รูป เดินทางมาที่วัดประดิษฐารามแจ้งกับ
พระสุชิน ญาณรังษี ว่าพระพุทธรูปหินอ่อนได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งมาทางเรือเดินสมุทร
พระพม่า 2 รูป เดินทางมาที่วัดประดิษฐารามแจ้งกับ
พระสุชิน ญาณรังษี ว่าพระพุทธรูปหินอ่อนได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งมาทางเรือเดินสมุทร
จะเข้าจอดที่เกาะสอง (วิกตอเรียพ้อยท์) ทางเขตแดนพม่าในวันที่ 10 มกราคม 2502 และเล่าว่าพระพุทธรูปหินอ่อนได้ดำเนินการสร้างที่กรุงมัณฑเล ทางภาคเหนือของประเทศพม่า ระหว่างการขนส่งมาสู่
ภาคใต้ที่กรุงย่างกุ้ง ต้องผ่านสมรภูมิระหว่างพวกธงแดง ธงขาว ซึ่งกำลังต่อสู้เพื่อขอแยกเป็นรัฐอิสระจากสหภาพพม่า ของพวกมอญ กะเหรี่ยง เงี้ยว ฯลฯ แต่ได้พระอาจารย์พม่า (ที่เคยมาเที่ยวประเทศไทย) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่คู่ต่อสู้เคารพอย่างสูงเป็นผู้ควบคุมนำส่ง ดังนั้นทุกฝ่ายต่างอาสารับส่งต่อๆ กันมาจนถึงเมืองย่างกุ้งอย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องเสียค่าขนส่งแต่อย่างใด เมื่อถึงกรุงย่างกุ้งชาวย่างกุ้งได้จัด
การสมโภชแห่รอบเมืองย่างกุ้ง โดยเขียนป้ายว่า พระพุทธรูปหินอ่อนและพระพุทธบาทหินอ่อนมา
จากกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันนี้ได้มอบพระพุทธรูปหินอ่อนองค์เล็กหน้าตัก 14 นิ้ว ให้นายอุทัยไว้บูชาเป็นการส่วนตัว 1 องค์ ส่วนค่าขนส่งมาทางทะเลโดยเรือสินค้าจนถึงเกาะสอง (วิกตอเรียพ้อยท์)
ค่าสร้างพระพุทธรูปหินอ่อนและพระพุทธบาทจำลองหินอ่อนที่เหลือทั้งสิ้น ชาวพม่าได้พร้อมใจกันจ่ายแทน ดังนั้น ในวันที่ 9 มกราคม 2502 นายอุทัยกับนายจำเนียร พร้อมด้วยท่านพระครูประดิษฐกัลยาณคุณ เจ้าอาวาสวัดประดิษฐาราม จังหวัดธนบุรี พระสุชิน ญาณรังษี (ล่าม) และพระพม่า 2 รูปผู้ส่งข่าว
ได้ออกเดินทางจากวัดประดิษฐาราม ธนบุรี โดยรถจิ๊ปเล็ก เดินทางตั้งแต่เวลา 06.00 นาฬิกา ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร กระบี่ เข้าถึงจังหวัดระนอง เวลา 23.30 นาฬิกาเศษ
วันรุ่งขึ้นตรงกับวันที่ 10 มกราคม 2502 ได้ขอเช่าเรือประมงจากชาวบ้านรีบเดินทางไปยังเรือสินค้าซึ่งยังจอดรับส่งสินค้าอยู่ เมื่อขึ้นบนเรือสินค้าแล้วจึงแจ้งขอรับพระพุทธรูป กัปตันเรือแจ้งว่ามีเจ้าอาวาสวัดเกาะสองของพม่าส่งเรือเล็กมารับไปแล้ว ดังนั้นจึงได้เดินทางมายังเกาะสองเข้าหาเจ้าอาวาสวัดพม่าซึ่งมีอยู่เพียงวัดเดียวในเกาะนี้ ท่านเจ้าอาวาสได้กรุณาแจ้งว่า ได้ช่วยเหลือรับพระมาและส่งมาให้ทางฝั่ง ไทยเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งจอดเรือไว้ใกล้กับปั้นจั่นขนแร่ ที่สามารถยกพระขึ้นจากเรือได้โดยสะดวก และค่าใช้จ่ายในการนี้ ท่านเจ้าอาวาสขอร่วมการกุศลเป็นผู้จ่ายทั้งสิ้น และเรือประมงลำที่เช่าไปนี้เมื่อรู้เรื่องก็ไม่คิดค่าเช่าเช่นกัน ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพระพุทธรูปหินอ่อนและพระพุทธบาทหินอ่อน จึงเริ่มจ่ายเป็นค่ารถจากจังหวัดระนอง ขนส่งมาถึงสถานีรถไฟจังหวัดชุมพร เสียค่าขนส่งทางรถไฟจากจังหวัดชุมพรถึงสถานีบางกอกน้อย และค่าขนส่งจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย โดยทาง ร.ส.พ. ถึงจังหวัดระยอง และพักฝากไว้กับท่านพระครูธรรมธร(อาจารย์แต๋ว) เจ้าอาวาสวัดช้างชนศิริราษฎร์บำรุง ต.ตะพง
จากนั้นก็เริ่มกรุยทางเพื่อนำพระพุทธรูปและพระพุทธบาทหินอ่อนขึ้นสู่ยอดเขา โดยมีนายเฉียม ชลศิริ เป็นผู้ควบคุมงาน ตลอดจนก่อสร้างกุฏิสงฆ์ตามไหล่เขาพร้อมกันไปโดยครั้งแรกนี้มี นายสำเริง อรัญนาถ นายไทยและชาวบ้านอีกหลายคนจำชื่อไม่ได้ มาช่วยเหลือตลอดเวลา และระหว่างนี้ นายจำเนียรได้แนะนำนายอุทัยให้หาพระสงฆ์มาอยู่ ประจำสัก 1 รูปก่อน จึงได้นิมนต์พระประเสริฐ ซึ่งนายจำเนียรชอบพอกันดีอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งใน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาจำพรรษาพร้อมกันได้นิมนต์ท่านเจ้าคณะจังหวัดระยอง เป็นองค์ประธานอัญเชิญ
พระพุทธรูปและพระพุทธบาทจำลอง ขึ้นสู่ยอดเขาสาป เมื่อเดือนพฤษภาคม 2502 จากนั้นมา นายเฉียม ชลศิริ
ก็เป็นผู้ดูแลวัดมาโดยตลอด ระหว่างนี้ พระประเสริฐที่มาอยู่ได้ไม่ถึงปีก็จากไป ต้องหาพระใหม่มาอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งก็ไม่สามารถจะอยู่ได้
จากนั้นก็เริ่มกรุยทางเพื่อนำพระพุทธรูปและพระพุทธบาทหินอ่อนขึ้นสู่ยอดเขา โดยมีนายเฉียม ชลศิริ เป็นผู้ควบคุมงาน ตลอดจนก่อสร้างกุฏิสงฆ์ตามไหล่เขาพร้อมกันไปโดยครั้งแรกนี้มี นายสำเริง อรัญนาถ นายไทยและชาวบ้านอีกหลายคนจำชื่อไม่ได้ มาช่วยเหลือตลอดเวลา และระหว่างนี้ นายจำเนียรได้แนะนำนายอุทัยให้หาพระสงฆ์มาอยู่ ประจำสัก 1 รูปก่อน จึงได้นิมนต์พระประเสริฐ ซึ่งนายจำเนียรชอบพอกันดีอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งใน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาจำพรรษาพร้อมกันได้นิมนต์ท่านเจ้าคณะจังหวัดระยอง เป็นองค์ประธานอัญเชิญ
พระพุทธรูปและพระพุทธบาทจำลอง ขึ้นสู่ยอดเขาสาป เมื่อเดือนพฤษภาคม 2502 จากนั้นมา นายเฉียม ชลศิริ
ก็เป็นผู้ดูแลวัดมาโดยตลอด ระหว่างนี้ พระประเสริฐที่มาอยู่ได้ไม่ถึงปีก็จากไป ต้องหาพระใหม่มาอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งก็ไม่สามารถจะอยู่ได้
ใน พ.ศ.2503 นายจำเนียรได้แนะนำนายอุทัยให้รู้จักกับอาจารย์ขาว ติสฺสวโส อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยลาด ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสมาอยู่ป่าเป็นธุดงค์ นายอุทัยจึงชวนอาจารย์ขาว มาเที่ยวที่เขาสาป แล้วขอร้องให้ท่านอยู่จำพรรษา ท่านปฏิเสธ แต่รับจะนำพระธุดงค์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านมาอยู่ให้ 1 พรรษา เมื่อเป็นที่ตกลงกัน ท่านอาจารย์ขาวได้กลับไปปักษ์ใต้แล้วนำลูกศิษย์พระธุดงค์มา 5 รูป โดยให้พระเจียร สาคโต เป็นประธาน มีพระแคล้ว พระเอี่ยม พระบุญน้อย พระบุญนำ เป็นพระลูกวัด และนายอุทัย ได้จัดหาพระถนอม ซึ่งมีฝีมือทางช่างแกะสลักจากวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมังคลาราม) มาอยู่ด้วยอีก 1 รูป ระหว่างนี้มีชาวบ้านที่ชราหลายคนต่างก็บ่นกันว่าไม่สามารถจะขึ้นเขาชมพระพุทธรูปหินอ่อนได้เพราะชราเกินกว่าที่จะเดินขึ้นเขาได้ ดังนั้นนายอุทัยจึงนำพระพุทธรูปหินอ่อนองค์เล็กมาถวายวัดไว้ เพื่อคนชราจะได้ชมอย่างใกล้ชิดโดยมีรูปทรงเหมือนกันทุกประการเก็บไว้เป็นพระประธานอยู่ด้านล่าง
เมื่ออยู่ได้ครบ 1 พรรษา พระทุกรูปต่างกกลับใต้กันหมด ชาวบ้านจำรุงจะขอร้องเพียงใดก็ไม่ยอมอยู่ต่อ ซึ่งเป็นที่อาลัยของชาวบ้านอย่างยิ่ง นายอุทัยได้ขอร้องท่านเจียร ประธานสงฆ์ โดยขอลูกศิษย์อยู่ต่อสักรูปสองรูปและจะกลับเที่ยวบ้านทางปักษ์ใต้เมื่อใด ก็ยินดี รับส่งตลอด โดยจะมีชาวบ้านติดตามเป็นลูกศิษย์ระหว่างเดินทางทุกครั้ง ก็ไม่สำเร็จ เมื่อเดินทางมาถึงกรุงเทพฯเข้าพักรอรถไฟกลับปักษ์ใต้ ท่านเจียรได้บอกกับนายอุทัยว่าวัดนี้คนธรรมดาสร้างไม่ได้ ท่านเห็นว่า ถึงให้ลูกศิษย์อยู่ก็ไม่มีทางสำเร็จ อาจจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นได้ จึงจำใจปฏิเสธ และได้เล่าว่าระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ ท่านนิมิตเห็นงูกับเหี้ยสู้กัน ท่านไม่ทราบว่าหมายถึงอย่างไรและต่อมาท่านนิมิตว่ามีชีปะขาวมาแจ้งให้ท่านทราบว่าวัดนี้ต้องมีพระราชามาเป็นเจ้าของจึงจะสร้างสำเร็จ ซึ่งนายอุทัยก็ไม่เชื่อถือ ท่านเจียรยังได้ย้ำไว้ว่าเขานี้พระอยู่ลำบากถ้าจิตใจไม่ดีพออยู่ไม่ได้ต้องมีเรื่องเดือดร้อน ท่านบอกว่าในระหว่างพรรษาท่านก็หนักใจไม่น้อย แต่อาศัยที่ท่านเคยผ่านการอยู่ป่ามาพอสมควร จึงประคับประคองอยู่กันได้ โดยไม่ทำความเสื่อมศรัทธาให้ชาวบ้านนินทา ท่านย้ำว่าไม่เชื่อก็ไปดูก็แล้วกัน หลังจากนั้นได้ หาพระมาอยู่เป็นคณะ
ก็เกิดแตกความสามัคคี ต้องแยกย้ายกันกลับ ได้หาพระสงฆ์มาอยู่ใหม่บ้าง มีพระมาขอสมัครอยู่เองบ้าง ก็อยู่ไม่ได้ คงอยู่ได้เป็นครั้งคราวในเวลาสั้นๆ ดังนั้นส่วนใหญ่จึงร้างไม่มีพระอยู่ จนหมดปัญญาที่จะหาพระสงฆ์มาอยู่ต่อไป ต่างก็วางมือหยุดหาพระชั่วคราวเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาหลายปี หลังจากนั้นก็ได้พยายามหาพระมาอยู่เป็นประจำก็ไม่สำเร็จ มาอยู่ได้ไม่กี่วันก็จากไป เป็นอยู่เช่น
นี้ตลอดมาเป็นเวลาหลายปี
จนถึง พ.ศ.2510 นายเตี่ยน จาระติกรรมา ชาวบ้านจำรุง (ขณะนั้นกำลังบวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่วัดในไร่) ได้เป็นผู้นำหนังสือของชาวบ้านจำรุง ไปนิมนต์พระครูสังฆวิชิต(สุกรี) เจ้าอาวาสวัดจุฬามุนี ขอให้ท่านช่วยจัดการเรื่องสงฆ์ประจำวัดและขอให้ท่านเป็นผู้ควบคุมดูแลเรื่องสงฆ์สำหรับมาจำพรรษาที่วัดเขาสาปนี้ตลอดไป ท่านพระครูได้พิจารณาอยู่ 3 วัน จึงรับคำที่จะเป็นผู้อุปการะนี้ให้ตลอดไป หลังจากนั้น ท่านพระครูได้ส่ง
พระมหาวิโรจน์ สุโชโต เป็นประธาน พระลูกวัด 2 รูป เณร 8 รูป มาจำพรรษาอยู่
พระมหาวิโรจน์ สุโชโต เป็นประธาน พระลูกวัด 2 รูป เณร 8 รูป มาจำพรรษาอยู่
ต่อมาปี พ.ศ.2511 ท่านพระครูฯได้เปลี่ยนให้พระชุมพล มาเป็นประธานแทน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูวินัยธร ในระหว่างที่ท่านพระครูสังฆวิชิต(สุกรี) ได้ส่งท่านมหาวิโรจน์ มาเป็นประธานสงฆ์นั้น ท่านได้เริ่มดำเนินการเรื่อง การก่อตั้งวัด พร้อมกับ ได้นำนายอุทัย เจริญสวัสดิ์ นายเฉียม ชลศิริ
เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริยาราม เพื่อขอประทานนามวัด นามพระพุทธรูปหินอ่อน 2 องค์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้กล่าวกับนายอุทัยว่า ชื่อเขาสาปไม่ดี ให้เปลี่ยนชื่อเป็นเขามงคล ซึ่งภายหลังทางวัดชอบเรียกชื่อสั้นๆ ว่าวัดเขามงคล
ซึ่งภายหลังมีคนเอาลูกมาทิ้งไว้ให้เลี้ยงท่านพระครูวินัยธร (ชุมพล) ได้ให้นามสกุลว่า มงคลคีรี
ส่วนสมเด็จพระสังฆราชได้กรุณาประทานนามวัดชื่อว่า
"พระพุทธมงคลบพิตร วิชิตมารโมลีโลก ประสิทธิศุภโชคสวัสดี ประสาธน์ศรีศุภมงคล"
"พระพุทธมงคลญาณ ประหาร สรรพโรคาพาธประสาธน์สันติสุขสวัสดิ์ประสิทธิศรีศุภโชค"
ให้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2510 และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดลงวันที่ 14 เมษายน 2524ให้ชื่อว่า
"วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย"
ครั้งแรกที่ทางตัดเข้าทางวัดช้างชนศิริราษฎร-บำรุงลงทะเล และเลียบริมทะเลถึงคลองสาปน้อย
ไม่สามารถต่อทางมาได้ เนื่องจากก่อสร้างสะพานข้ามคลอง ทางอำเภอเมืองระยอง ได้สอบราคาแล้ว ปรากฏว่า ต้องใช้เงินถึง 60,000 บาท ทางนายอำเภอ
(ประกิต อุตโมท) จึงได้มีหนังสือชักชวนผู้ที่มีที่ดินติดชายทะเลให้ช่วยกันออกเงิน ข้ามคลองสาปน้อย
แต่ไม่มีผู้ใดยอมบริจาค มีแต่นายอุทัยได้ไปชักชวน
พันเอกพยัคฆ์ เนตสุขำ รวมเงินกันได้20,000บาท
โดยให้นายอุทัยนำมามอบไว้กับนายอำเภอ แต่ก็ไม่สามารถสร้างสะพานได้ เพราะไม่มีผู้ใดยอมช่วยออกเงินค่าสะพาน ดังนั้น นายอุทัยจึงปรึกษากับพระท่านพระครูวินัยธร (ชุมพล) เจ้าอาวาส มีเงินเพียง 20,000 บาท ทำอย่างไรจะสามารถทำทางเข้าวัดได้ ท่านชุมพลรับรองว่าสามารถทำได้ ดังนั้น นายอุทัยจึงเข้าพบนายอำเภอเมือง ขอเงินที่บริจาคไว้20,000 บาทคืน โดยยืนยันว่าจะมาทำการก่อสร้างกันเอง ท่านนายอำเภอจึงคืนเงินมา ท่านชุมพลได้ไปติดต่อกับหน่วยนาวิกโยธินและอู่ตะเภา ขอความช่วยเหลือทางทหารเรือและช่างทหารอเมริกันที่สร้างสนามบินอู่ตะเภาจึงได้ส่งเครื่องมือและช่างมาช่วย โดยมีชาวบ้านจำรุงพร้อมใจกันมาช่วยด้วยจนสำเร็จ สิ้นเงินค่าสิ่งของไปไม่ถึง 20,000 บาท ทางวัดได้เงินเหลือเข้าวัดพร้อมทั้งไม้แบบอีกจำนวนมาก
ไม่สามารถต่อทางมาได้ เนื่องจากก่อสร้างสะพานข้ามคลอง ทางอำเภอเมืองระยอง ได้สอบราคาแล้ว ปรากฏว่า ต้องใช้เงินถึง 60,000 บาท ทางนายอำเภอ
(ประกิต อุตโมท) จึงได้มีหนังสือชักชวนผู้ที่มีที่ดินติดชายทะเลให้ช่วยกันออกเงิน ข้ามคลองสาปน้อย
แต่ไม่มีผู้ใดยอมบริจาค มีแต่นายอุทัยได้ไปชักชวน
พันเอกพยัคฆ์ เนตสุขำ รวมเงินกันได้20,000บาท
โดยให้นายอุทัยนำมามอบไว้กับนายอำเภอ แต่ก็ไม่สามารถสร้างสะพานได้ เพราะไม่มีผู้ใดยอมช่วยออกเงินค่าสะพาน ดังนั้น นายอุทัยจึงปรึกษากับพระท่านพระครูวินัยธร (ชุมพล) เจ้าอาวาส มีเงินเพียง 20,000 บาท ทำอย่างไรจะสามารถทำทางเข้าวัดได้ ท่านชุมพลรับรองว่าสามารถทำได้ ดังนั้น นายอุทัยจึงเข้าพบนายอำเภอเมือง ขอเงินที่บริจาคไว้20,000 บาทคืน โดยยืนยันว่าจะมาทำการก่อสร้างกันเอง ท่านนายอำเภอจึงคืนเงินมา ท่านชุมพลได้ไปติดต่อกับหน่วยนาวิกโยธินและอู่ตะเภา ขอความช่วยเหลือทางทหารเรือและช่างทหารอเมริกันที่สร้างสนามบินอู่ตะเภาจึงได้ส่งเครื่องมือและช่างมาช่วย โดยมีชาวบ้านจำรุงพร้อมใจกันมาช่วยด้วยจนสำเร็จ สิ้นเงินค่าสิ่งของไปไม่ถึง 20,000 บาท ทางวัดได้เงินเหลือเข้าวัดพร้อมทั้งไม้แบบอีกจำนวนมาก
กุฏิสงฆ์ตามไหล่เขา ไม่มีพระจำพรรษาเกิดปลวกขึ้น ดังนั้นจึงต้องรื้อลงมาสร้างเป็นกุฏิแฝดที่เชิงเขา สร้างกุฏิสงฆ์ใหม่ 4 หลัง สร้างมณฑปจตุรมุขบนยอดเขา 1 หลัง
สร้างศาลาบำเพ็ญบุญ 1 หลัง สร้างศาลาเรียนธรรม 1 หลัง
สร้างศาลาโรงอาหาร 1 หลัง (ปีนี้ยังไม่แล้วเสร็จ) สร้างโรงเก็บเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 หลัง
สร้างส้วม ห้องน้ำ 3 หลัง สร้างกุฏิเจ้าอาวาส 1 หลัง และนำไฟฟ้าเข้าหมู่บ้านจำรุงและวัดสำเร็จ