วัดเขาสาปหรือวัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย เป็นวัดเล็ก ทีมีภารกิจยิ่งใหญ่ คือ งานสร้างคน คือรับเด็กยากจนที่จบชั้น ป.6 มาบรรพชาเป็นสามเณร เข้าเรียนหลักสูตรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ม.1-ม.6 เป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษา โดดยมีกรมการศาสนาเป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งปัจจุบันมีสำนักเรียนทั่วประเทศประมาณ 100 โรงเศษ
วัดเขาสาปนั้นตั้งอยู่ที่บ้านจำรุง หมู่ 1 ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีการคิเริ่มคิดสร้างเมื่อปี 2495 โดยการนำของนายอุทัย เจริญสวัสดิ์ ชาวกรุงเทพฯ กับนายเจียม ชลศิริ ชาวบ้านจำรุง ชักชวนชาวบ้านยินดียกที่ดินเชิงเขาให้สร้างวัด 4 ราย คือ นายไทย ขวัญม่วง นายเสริม อินพรหม
นายจั๋ง จาระติกรรมา และนายป่อง ชลสวัสดิ์
ต่อมาเมื่อปี 2500 นายจำเนียร เจียมสมบูรณ์ หัวหน้าแผนกรังวัดที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ขอให้นายอุทัย เจริญสวัสดิ์ ช่วยเหลือพาพระพม่าและชาวพม่าเที่ยวต่างจังหวัด เพื่อชมวัดที่นครปฐม อยุธยา สระบุรี และล่องน้ำชมวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระและชาวพม่าเหล่านี้มาใน
งานฉลองพุธศตวรรษ 2,000 ปี โดยอาศัยอยู่ที่
วัดมอญ เจริญพาสน์ (วัดประดิษฐาราม) ซึ่งนายจำเนียรมีบ้านอยู่ใกล้วัดแห่งนี้ โดยมีพระสุชิน ญาณรังสี เป็นล่ามคอยแปลภาษาพม่าเป็นภาษาไทยในระหว่างการนำเที่ยว
เมื่อสิ้นสุดการฉลองกึ่งพุทธกาลแล้ว
พระและชาวพม่าก็ใคร่จะขอตอบแทนความเอื้อเฟื้อของนายอุทัยบ้าง นายอุทัยจึงปรึกษากับนายจำเนียรว่าขอให้ช่วยสร้างพระประธานหินอ่อนและพระพุทธบาทจำลองหินอ่อนไปไว้ประจำวัดเขาสาปที่สร้างขึ้น โดยนายอุทัยได้ให้เงินมัดจำไปก่อน 20,000 บาท เมื่อตกลงราคาจริงเท่าใหร่ให้แจ้งราคามาแล้วจะส่งเงินไปเพิ่ให้ทันที
ทางฝ่ายพระและชาวพม่าจึงได้ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จเกือบ 2 ปี โดยจัดสร้างที่กรุงมัณฑเล ซึ่งอยู่ทางเหนือของพม่า แล้วขนส่งมาสู่ภาคใต้ที่กรุงย่างกุ้ง ต้องผ่านสมรภูมิรบระหว่างพวกธงแดงและธงขาวของมอญ กระเหรี่ยง เงี้ยว ที่ขอแยกเป็นรัฐอิสระ เมื่อถึงกรุงย่างกุ้ง ชาวย่างกุ้งได้จัดงานสมโภช
แห่รอบเมือง พร้อมกันนี้ยังได้มอบพระพุทธรูปหินอ่อนองค์เล็กหน้าตัก 14 นิ้ว ให้นายอุทัยไว้บูชาเป็น
การส่วนตัวอีก 1 องค์ สำหรับค่าสร้างพระพุทธรูปหินอ่อนและพระพุทธบาทหินอ่อนจำลองที่เหลือ
ทั้งสิ้นชาวพม่าได้พร้อมกันจ่ายแทน
การขนส่งพระพุทธรูปหินอ่อนและพระพุทธบาทหินอ่อนจำลองจากกรุงย่างกุ้งมาทางเรือเดินสมุทรเข้าจอดที่เกาะสองเมื่อเดือนมกราคม 2502 แล้วเช่าเรือประมงมาส่งต่อที่จังหวัดระนอง ขึ้นรถต่อมาถึงสถานีรถไฟจังหวัดชุมพร ขึ้นรถไฟถึงสถานีบางกอกน้อยแล้วจึงเช่ารถ ร.ส.พ. ขนส่งมาถึงจังหวัดระยอง พักฝากไว้กับพระอาจารย์แต๋ว เจ้าอาวาสวัดช่น ตำบลตะพง จากนั่นจึงเริ่มกรุยทางอัญเชิญมาสู่เขาสาปโดยมีนายเฉียม ชลศิริ เป็นผู้ควบคุมงานตลอดจนก่อสร้างกุฏิสงฆ์ตามไหล่เขาพร้อมกันไป
นายจำเนียรได้แนะนำนายอุทัย ให้หาพระสงฆ์มาอยู่ประจำสัก 1 รูปก่อน จึงตกลงไปนิมนต์พระประเสริฐจากวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดอยุธยามาจำพรรษา พร้อมกันนั้นได้นิมนต์เจ้าคณะจังวัดระยองมาเป็นประธานอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนและพระพุทธบาทจำลองขึ้นสู่ยอดเขาสาปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2502 จากนั้นนายฉียม ชลศิริ ก็เป็นผู้ดูแลวัดมาโดยตลอด
เหตุอัศจรรย์เกิดที่วัดเขาสาป
เรื่องราวชอง เขาสาป และวัดเขาสาป เป็นตำนานที่ชาวบ้านเล่าต่อๆ กันแบบไม่รู้จบ มันเหมือนนิทานนิยายที่มีปาฏิหาริย์น่าตื่นเต้นแม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้าที่นิมนต์มาอยู่ก็อยู่กันได้ไม่นาน บอกนายอุทัย เจริญสวัสกดิ์ ว่า วัดนี้คนธรรมดาสร้างไม่ได้ จึงต้องปล่อยให้ทิ้งร้างอยู่หลายปี จนถึงปี 2510 นายเตี่ยน จารติกรรมา (ขณะบวชอยู่ในวัดในไร่) จึงนำหนังสือจากชาวบ้านจำรุงไปนิมนต์พระครูสังฆวิชิต (สุกรี)
เจ้าอาวาสวัดจุฬามุนี ขอให้ช่วยเหลือจัดการหาพระมาจำพรรษา และได้ดำเนินการเรื่องการตั้ง
วัดด้วย
ท่านพระครูสังฆวิชิต (สุกรี) จึงได้จัดหา
พระและสามเณรรวม 10 รูป จากวัดจุฬามุนี
จังหวัดระยองมาจำพรรษา และได้นำนายอุทัย เจริญสวัสดิ์ และนายเฉียม ชลศิริ เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชวัดมกุฏกษัตริยารามเพื่อ
ขอประานนามวัด และนามพระพุทธรูปหินอ่อน
2 องค์ สมเด็จพระสังฆราชได้กล่าวกับนายอุทัยว่า ชื่อเขาสาปไม่ดี จึงได้ประทานนามว่า
"วัดมงคลคีรีสามัคคีธัมโมทัย" ให้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2510 ถวายพระนามพระพุทธรูปหินอ่อนหน้าตัก 35 นิ้ว ปางมารวิชัยว่า "พระพุทธมงคลบพิตรวิชิตมารโมลีโลก ประสิทธิศุภโชคสวัสดี ประสาธน์ศรีศุภมงคล" ถวายพระนามพระพุทธรูปหินอ่อนหน้าตัก 14 นิ้ว ปางมารวิชัยว่า "พระพุทธมงคลญาณ ประหารสรรพโรคาพาธ ประสานธ์สันติสุขสวัสดี ประสิทธิศุภโชค" ให้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2510
และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศทะเบียนตั้งวัดลงเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2524 โดยให้ชื่อว่า
วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย (ตัดคำว่า คีรี หายไป) แต่ชาวบ้านยังคงเรียกชื่อว่า วัดเขาสาป ติดปากกันมาตราบเท่าทุกวันนี้
การต่อตั้งวัดเขาสาป ซึ่งเริ่มต้นกันมาตั้งแต่ปี 2495 ต้องล้มลุกคลุกคลานผ่านความทุกข์ยากแสนสาหัส เมื่อชาวบ้านได้พระพุทธรูปและพระสงฆ์มาเป็นเสาหลักครบแล้วก็ยังต้องพบกับปัญหา และอุปสรรคอีกนานัปการ โดยเฉพาะการขยายผลจัดตั้งสำนักเรียนเพื่อสร้างคน จนกระทั้งปัจจุบันโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดนำหน้าสำนักเรียนในวัดและนอกวัดอย่งแท้จริง โดยมีพระวิทยา จิตฺตธมฺโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นประธาน
ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดเขาสาป
แต่อย่างไรก็ตามนับแต่สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) ได้ประทานพระนามพุทธปฏิมาหินอ่อน และประทานชื่อวัดเมื่อปี 2510 แล้ว วัดเขาสาปก็มีเจ้าอาวาส 3 รูปดังนี้
1. พระครูวินัยธร ชุมพล อธิวาสโน (ยินดีสุข) พ.ศ. 2510-2524
2. พระครูวินัยธร พิศ ปรกฺกโม พ.ศ. 2524-2528
3. พระวิทยา จิตฺตธมฺโม (อาภรรัตน์) พ.ศ. 2528-ปัจจุบัน
(แหล่งข้อมูลจาก มงคลนิมิตร ฉบับพระพุทธมงคลบพิตรฯ ประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ.2554)