แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศาสนพิธี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศาสนพิธี แสดงบทความทั้งหมด

23/04/2565

Create goodness - practice meditation - with spells-สร้างความดี-ฝึกสมาธิ-ด้วยคาถา

 

                สวัสดีครับ  คนเราทุกคนมียามที่เข้มแข็งมีแรงและพลังใจต่อสู้ไปกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี  แต่หากวันไหนเกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ก็ย่อมมองหาที่พึ่งโดยเฉพาะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพบูชาไม่ว่าจะเป็นแบบวัตถุ  สถานที่ หรือตัวบุคคลก็ตาม เมื่อมีการไปบูชาก็ย่อมมีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ หรือที่เราเรียกว่าพิธีกรรม อันเป็นไปตามรูปแบบของแต่ละความเชื่อ

                 สังคมของเราอยู่คู่กับการเคารพเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ จึงเป็นมีบทสวดหรือคาถาอย่างมากมายที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้กลับมามีความแข็งแรง  สามารถต่อสู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราได้เป็นอย่างดี

                 ในพระพุทธศาสนาบทสวดหรือคาถาส่วนใหญ่จะเป็นคำอ่านภาษาบาลี  เมื่อเราฝึกสวดบ่อย ๆ จิตใจก็จะเกิดความตั้งมั้น จดจ่อกับการสวดที่ให้เกิดเป็นสมาธิ  (สมาธิ คือ การตั้งมั่น) ซึ่งหลังจากการสวดใหม่นั้นเราก็จะเกิดปิติมีความสุข สามารถคิดหรือตัดสินใจทำการสิ่งต่าง ๆ ได้ดี  ต่างจากช่วงที่เรากำลังเศร้าหมอง เครียด เพราะภายในใจของเรายึดติดกับอารมณ์ทำให้มองไม่เห็นทางออก

                 ดั้งการสวดคาถาบ่อย ๆ ย่อมนำมาตั้งสติ สมาธิและปัญญา อย่างแน่นอน มากน้อยขึ้นกับตัวบุคคล ส่วนใครจะสวดบทไหนก็ต้องดูที่ความเชื่อและความชอบส่วนบุคคล...สวดย่อมดีกว่าไม่สวด เพราะช่วยยึดเหนี่ยวใจจากความไม่ดี...

12/10/2564

Make merit on Buddhist Lent Day-ทำบุญวันออกพรรษา


      สวัสดีครับ หลังจากการที่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งจนครบสามเดือนนับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา  เมื่อมาถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็จะถือเป็นวันออกพรรษา  ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันที่  21  ตุลาคม  2564   พระภิกษุสงฆ์จัดพิธีกรรม “มหาปวารณา” ให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากพบเห็นข้อบกพร่องระหว่างจำพรรษาอยู่ด้วยกัน รวมถึงเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยระหว่างพระภิกษุสงฆ์ พระผู้ใหญ่กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้น้อยก็ชี้แนะพระผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่าได้ เพื่อจะได้ระมัดระวัง ไม่ประมาท ให้อยู่ในกรอบของพระวินัย


30/04/2564

สรุปลำดับขั้นตอนพิธีกรรม : การถวายภัตตาหารพระภิกษุ-สามเณร

 สรุปว่า ขั้นตอนพิธีกรรม : การถวายภัตตาหารพระภิกษุ-สามเณร

1. พิธีกรประกาศเชิญเจ้าภาพมาพร้อมกันที่หน้าศาลาหอฉัน (ศาลาการเปรียญ)

2. พิธีกรกล่าวเชิญประธานในพิธีจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย (พิธีกรประกาศเชิญและทำหน้าที่ส่งเทียนชนวนให้ประธาน-ถ้ามีคนประกาศเชิญ 1 คน คนถือเทียนชนวน 1 คน จะสะดวกมาก)

3. พิธีกรนำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ.  (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
    สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ.  (กราบ)

4. พิธีกรนำกล่าว อาราธนาศีล 5 (กล่าวพร้อมกัน)
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

5. ขั้นตอนการกล่าวตามพระสงฆ์
  5.1 - กล่าว  นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ กล่าวตามพระสงฆ์ (โดยการให้พระสงฆ์กล่าวครบ 3 จบก่อน แล้วพิธีกรก็กล่าวตาม 3 จบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (นะโม 3 จบ)


สินเชื่อที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการทางการเงินของคนมีรถ เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ดีขึ้น ไม่ว่ารถจะยังผ่อนอยู่ หรือปลอดภาระแล้ว ก็เอามาแลกเงินกับเราได้ - ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว - รวบหนี้รถ หนี้บัตร มาเคลียร์เหลืออยู่ที่เดียว ผ่อนสบายขึ้น คลิกสมัครเลย! #ทีทีบีไดรฟ์ #รถแลกเงิน #รับเงินสดรถยังมีขับ #ทีเอ็มบีและธนชาตเปลี่ยนเป็นทีทีบี #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #TMBThanachart #ttb #MakeREALChange