
ดอกไม้สีแดงอมชมพูมีชื่อว่า ดอกหงอนไก่ (ที่บ้านผมเรียกแบบนี้) หรืออาจจะมีอีกหลายชื่อเรียกแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ แต่เราลองมารู้จักชื่อทางการกันนะครับ
หงอนไก่ฝรั่ง (หงอนไก่เทศ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Celosia argentea var. cristata (L.) Kuntze,
Celosia cristata L.
อยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หงอนไก่ดง
(นครสวรรค์)
ดอกด้าย ด้ายสร้อย สร้อยไก่ หงอนไก่
(ภาคเหนือ)

หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ฟ้า หงอนไก่ฝรั่ง หงอนไก่เทศ หงอนไก่ไทย
(ภาคกลาง),
พอคอที
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชองพุ ซองพุ
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
กระลารอน
(เขมร-ปราจีนบุรี),
แชเสี่ยง โกยกวงฮวย
(จีนแต้จิ๋ว)
จีกวนฮวา (
จีนกลาง)
ชื่อสามัญว่า Wild Cockcomb, Cockcomb,


จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้น ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว
ส่วนนี่ก็ ดอกสาละอินเดีย ดอกไม้ในพุทธประวัติที่ชาวพุทธได้ร่ำเรียนศึกษากันมา
ส่วนสุดท้ายก็ความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของพืชในตระูล เฟริน ผมเองชอบตอนที่เฟรินกำลังงอกใบใหม่ครับ เพราะปลายใบ หรือใบอ่อนจะม้วนสวย งดงามมาก
ขอบคุณ
ความรู้ดอกหงอนไก่จาก http://frynn.com/%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88/