แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ภาษาถิ่น แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ภาษาถิ่น แสดงบทความทั้งหมด

29/09/2564

Southern dialects-unique-culture-worth learning-and melodious-ภาษาถิ่นใต้-เอกลักษณ์-วัฒนธรรม-ที่น่าเรียนรู้-และไพเราะ

           ภาษาถิ่น คือ ภาษาย่อยที่ใช้พูดกันในท้องถิ่นเพื่อการสื่อความหมายความเข้าใจกันระหว่าง ผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ อาจจะแตกต่างไปจากกลางหรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ในประเทศใช้กันและจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและการใช้คำ  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่น
    ภาษาใต้เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของไทยที่มีเอกลักษณะเฉพาะ  ฟังแล้วมีความไพเราะ แต่ถ้าหากเราไม่เคยรู้มาก่อนก็จะต้องหยุดคิดหาความหมายก่อน  เพื่อให้เข้าใจ  แต่ด้วยการเดินทางยุคนี้ทันสมัย รวดเร็วโลกออนไลน์ก็รวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาถิ่นไว้บ้างก็จะช่วยให้เราเข้าใจ สื่อสารกันง่ายขึ้นเวลาเดินทางำไปในสถานที่ต่าง ๆ อีกทั้งด้วยสำเนียงของภาษาถิ่นก็ยิ่งทำให้ฟังแล้วไพเราะไปด้วยเลย

วันนี้จึงจะพามาเรียนรู้ภาษาถิ่นได้ ที่ทางวัดเลียบ ได้ขึ้นป่ายไว้เวลาสื่อสารกับชาวบ้านและผู้คนในพื้นที่  ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

- "31 สิงหา วัดเลียบมีงานเฒ้าเลี้ยงเพลเณรร้อยหวา ปีที่ 19"   รวมกันหมายถึง “วัดเลียบมีงานใหญ่เลี้ยงเพลเณรน้อยร้อยกว่า”   “เฒ้า” หมายถึง “ใหญ่” “ร้อยหวา” หมายถึง “ร้อยกว่า” 

- “โรงบาลเกาะ ย ให้มา”     หมายถึง “โรงพยาบาลเกาะยอให้มา”  (นิยมพูดสั้น ๆ )