กลับมาถึงบ้านก็เลยหาข้อมูลจากเน็ต และต้องขอบคุณข้อมูลจากเว็บ
http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/ornamental/498-lepisanthes ที่ทำให้ผมได้รู้จักชำมะเลียงที่เป็นทั้งผลไม้และสมุนไพรที่มีประโยชน์ครับ
ชำมะเลียง
ชื่ออื่นๆ : ภาคกลาง ภาคใต้ เรียก ชำมะเลียงบ้าน พุมเรียง พุมเรียงสวน ตราดเรียก โคมเรียง
ภาคเหนือ เรียก ผักเต้าและมะเถ้า ภาคอีสาน เรียก ภูเวียง
ภาคเหนือ เรียก ผักเต้าและมะเถ้า ภาคอีสาน เรียก ภูเวียง
ชื่อสามัญ : Luna nut หรือ Chammaliang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.)Leenh.
วงศ์ : Sapindaceae
ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ถึง 8 ม. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับกว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง ใบเขียวเต็ม มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียนซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวครีม ออกเป็นช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ผลรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด
ฤดูการออกดอก : มิถุนายน - ธันวาคม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีการขยายพันธุ์ง่าย ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด
ขึ้นได้ในดินเค็ม การแพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติพบมากแถบพื้นที่ชายทะเล
ชำมะเลียงเป็นพันธุ์ไม้ผลพื้นเมือง จึงทนทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี
ข้อแนะนำ :
ก่อนรับประทานผลชำมะเลียงควรคลึงเบาๆ ให้ทั่วผล จะลดรสฝาดลงได้บ้าง
ข้อมูลอื่นๆ :
ผลชำมะเลียงแก่ มีรสฝาดหวาน คนโบราณให้เด็กดินแก้โรคท้องเสีย
ราก แก้ร้อนใน แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต และเลือดกำเดาไหล
ใบอ่อน ใช้ประกอบการทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในแกงเลียง