สวัสดีครับ ก็มีโอกาสดีอีกครั้งแล้วครับที่จะได้เลือกตั้งนายกเทศมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำในการปกครองและบริหารส่วนท้องถิ่น ระดับเทศบาล นอกจากนี้ก็ยังมีการเลือกสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งจะเป็นกระบอกเสียงนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นของเรา วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 อย่าลืมไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกันนะครับ
มาทำความรู้จักกับเทศบาลกันหน่อยนะครับ เทศบาล เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งของไทย ตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ ราชการบริหารส่วนกลาง กระจายอำนาจไปให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอิสระ
ที่จะดำเนินการปกครองตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา เพราะเป็นการจำลองรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้ในท้องถิ่น ปัจจุบันเทศบาลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งได้กำหนดให้ การจัดตั้ง การเปลี่ยนชื่อ การเปลี่ยนแปลงเขต หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะของเทศบาล ให้กระทำเป็นพระราชกฤษฎีกา
เทศบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคล แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร อย่างไรก็ตามเทศบาลทั้ง ๓ ระดับ มีโครงสร้างเหมือนกัน คือ ประกอบด้วย สภาเทศบาล (ซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น) และคณะเทศมนตรี (นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีอีกจำนวนหนึ่ง) จะแตกต่างกันก็เฉพาะที่ตั้งหรือจำนวนประชากรเท่านั้น (ที่มา https://www.dongluang.go.th/index/?page=article4972)
ถูกจำกัดสิทธิ์หากไม่ไปเลือกตั้ง (ที่มา https://www.prachachat.net/politics/news-634916)
1. สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ./ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว.
2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ./ผ.ถ.
4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริการท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
6. ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการ ประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่นการถูกจำกัดสิทธิ์ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง