ประวัติ
เจ้าคุณพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นราว พ.ศ. 2488 ก่อนที่ท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้ ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ สัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ จึงได้นำแบบอย่างของพระอุโบสถวัดเกาะมาสร้างที่นี่บ้าง ระหว่างการก่อสร้าง คุณแม่บุญเรือน โตบุญเติม ได้เป็นกำลังสำคัญในการหาวัสดุและปัจจัยมาร่วมสร้างจนแล้วเสร็จ (http://www.thai-tour.com/thai-our/east/rayong/data/place/pic_watsaranart.htm)เจดีย์พระปฐมเจดีย์(จำลอง) เจีดย์พุทธคยา(จำลอง
มีมหาอุโบสถปูชนียสถานที่สวยงาม เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป
องค์พระประธานจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก บริเวณมุมกำแพงแก้วรอบอุโบสถทั้ง 4 ได้จำลองเอาพระพุทธเจดีย์ที่สำคัญของแต่ละภาคไว้ คือ พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง และพระบรมธาตุไชยา ( http://www.rayong.go.th/v2/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=41&Itemid=34)
พระธาตุพนม (จำลอง) พระธาตุไชยา (จำลอง)
วิวความงดงามของพระอุโบสถวัดสารนารถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง (การก่อสร้าง)
พระพุทธรูปนอกพระอุโบสถ ปางนาคปรก
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ประวัติย่อ...
ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก
(มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน
พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์
จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย
(http://account.payap.ac.th/other/phraofday/phraofday.htm)
สถานที่ไหว้พระ และ วิวภายนอกพระอุโบสถ มองดูงดงามมาก
ดอกบัวในกระถางกำลังออกดอก บานสวยงาม
ทำไมต้องใช้ดอกบัวไหว้พระ...
ดอกบัวนั้นเราใช้บูชาพระกันมานานแล้ว เพราะถือว่าเป็นดอกไม้สำหรับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะคติอันนี้คงจะสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์อีกทางหนึ่งด้วย เพราะปรากฏว่าเทพเจ้าของพราหมณ์หลายองค์ก็เกิดจากดอกบัวและถือดอกบัวเพราะถือว่าดอกบัวคือแผ่นดิน คือเป็นสิ่งแทนพื้นพิภพนั่นเองถ้าจะสืบขึ้นไปถึงในสมัยโบราณ ก็จะพบว่าอียิปต์นิยมดอกบัวมาก ถึงกับประดิษฐ์เป็นลายหัวเสาในงานสถาปัตยกรรม แม้ภาพสลักภาพเขียนตามผนังก็มีภาพสตรีถือดอกบัว และทำท่ายื่นดอกบัวให้กัน แสดงว่าแต่ก่อนคงอุดมสมบูรณ์มาก ความบันดาลใจที่ได้รับจากดอกบัวจึงทำให้เกิดแบบอย่างทางศิลปะมาแต่นั้น ส่วนกรีก โรมัน ไม่ปรากฏว่ามีดอกบัวมากเหมือนอียิปต์ แม้ว่าศิลปะในระยะแรกจะได้รับอิทธิพลของอียิปต์ก็ตาม แต่การประดิษฐ์ดอกบัวในงานศิลปะกลับมาปรากฏในอินเดียมากที่สุด แล้วแพร่สะพัดมาทางประเทศเอเชียตะวันออกทั้งหมด หรืออาจจะประจวบเหมาะที่แผ่นดินส่วนนี้มีบัวนานาพันธุ์ก็อาจเป็นได้ ดังนั้นดอกบัวจึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
คติการนำดอกบัวมาบูชาพระนั้น มีเหตุหนึ่งจากที่ดอกบัวเป็นอุทาหรณ์แห่งเนื้อนาบุญที่อุดหนุนกันทั้งชาตินี้และชาติหน้าดังคำที่ว่า "ย่อมอาศัยเปือกตมและน้ำเป็นที่เกิด" อีกประการหนึ่ง ดอกบัวจะสวยงามและสดชื่นเมื่อได้น้ำใสสะอาด เป็นอุทาหรณ์ว่า ความสะอาดหมดจดย่อมให้ผลงามดังดอกบัวและที่ต้องเอาบัวตูมไปบูชานั้นก็เพราะถือกันว่า เพื่อให้พระพุทธเจ้าโปรด ดังที่พระพุทธองค์ทรงปรารภว่า สัตว์โลกมีอยู่สี่เหล่า ดังดอกบัวสี่ชนิด คือ ดอกบัวบาน ดอกบัวใกล้จะบานดอกบัวในน้ำ และดอกบัวที่เพิ่งเกิด การนำดอกบัวตูมใกล้จะบานไปบูชาก็เป็นดังประกาศว่าตนเองนี้มีหมายคือโสดาบุคคลคือจะบานในวันหน้า ไม่มีใครนำดอกบัวบานแล้วไปบูชา (คงเกรงว่าจะโรยเร็ว) หรือถ้าจะประดิษฐ์บัวตูมโดยจัดกลีบให้แย้มเห็นเกสรก็ยังไม่นับว่าเป็นบัวบาน เพราะยังไม่ถึงอายุที่ดอกบัวจะบาน แต่คนเขาเร่งให้บานเองต่างหาก คิดไปคิดมาก็เข้าคติ “ดอกไม้แรกแย้ม" ที่แทบทุกชาติในโลกเห็นพ้องกันว่า หมายถึงความสดชื่นแจ่มใส ดังคำว่า “Blossom" ถ้าเปรียบเป็นคนก็เหมือน “แตกเนื้อสาว” คติการทำให้ดอกบัวเป็น “แรกแย้ม" จึงน่าจะเป็นความมุ่งหมายที่ว่า “พุทธศาสนิกชนเป็นผู้พร้อมที่จะเข้าถึงทางแห่งโสดาทั้งนั้น” แต่การนำดอกไม้บูชาพระนี้ จัดเข้าในพวก “อามิสบูชา" ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ “ปฏิบัติบูชา" ดังนั้นการบูชาด้วยดอกบัวอย่างเดียวจะบรรลุโสดาไม่ได้ จะต้องปฏิบัติตนตามพระพุทธวจนะอีกด้วย
เมื่อดอกบัวมีความนิยมเช่นนี้ จึงเกิดการประดิษฐ์ดอกบัวเป็นรูปต่าง ๆ ในงานศิลปะ เป็นสิ่งเชิดชูศาสนา ซึ่งมีทั้งชนิดดอกตูมดอกบาน และก็ได้เลือกประดิษฐ์ให้เหมาะกับดอกบัวแต่ละชนิด ลวดลายบางอย่างก็อาศัยกลีบบัวเป็นหลัก จึงมีชื่ออยู่ในลายไทยหลายอย่าง เช่น บัวคว่ำ-บัวหงาย บัวแก้ว บัวกระจัง-บัวกระหนก บัวกลุ่ม บัวจงกล (http://www.dhammadelivery.com/webboard.php?action=show&id=6301)
ติณราชสีห์ ที่สร้างไว้ที่ประตูทางเข้าทุกด้าน และมีข้อความคติธรรมไว้ลองอ่านดูนะครับ
ติณราชสีห์ (สิงโตกินหญ้า)
ราชสีห์ที่อยู่หน้าโบสถ์ ไม่เคยจะโกรธกับใคร
ราชสีห์ที่อยู่หน้าวัด ไม่เคยจะกัดกับใคร
ราชสีห์มีธรรม ไม่เคยเกะกะระรานใคร
มีสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ให้อภัยอ่อนน้อมถ่อมตน