นิราศ 9 เรื่อง ได้แก่
นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง
นิราศสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา
รำพันพิลาป นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร
นิทานกลอน 5 เรื่อง
โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา
ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ
สุภาษิต 3 เรื่อง
สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท สุภาษิตสอนหญิง
บทละคร 1 เรื่อง
อภัยนุราช
บทเสภา 2 เรื่อง
ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม เสภาพระราชพงศาวดาร
บทเห่กล่อมพระบรรทม 4 เรื่อง
เห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องจับระบำ
เห่เรื่องกากี
จากผลงานดังกล่าว นำมาสู่การเรียนรู้บทกลอน กวีในวิชาภาษาไทย ทำให้ผู้คนทั่วไปมีการแต่งกลอนกาพย์ บทกวีอย่างมากมายหลากหลาย รวมทั้งมีการนำความรู้ความคล้องจองของภาษามาสร้างเป็นบทเพลงให้ความไพเราะเข้ากับยุคสมัยอ เช่น บทเพลงกลอนสุนทรภู่ โดยศิลปินนัท มาลิสา ในรายการพระคุณช่วย
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างบทกลอนวรรคทองสอนใจวันสุนทรภู่ที่มีการนำมาใช้เป็นตัวอย่างในแบบเรียนและสอนใจจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น
วรรคทองจากสุภาษิตสอนหญิง
จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ
(สุนทรภู่)
วรรคทองจากเพลงยาวถวายโอวาท
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
วรรคทองจากเรื่องพระอภัยมณี
อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฏิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
(สุนทรภู่)
และอีกมากมาย สามารถสึกษาเพื่อเติมได้ที่ วรรคทองสุนทรภู่