เมื่อเวลา 04.30 น. ก็มีเสียงดังจากระฆังที่สามเณรเคาะให้สัญญาณ นั้นก็เป็นเวลาที่ทุกคนต้องตื่นและถูปกลุกให้ตื่น ล้างหน้าล้างตา แปรงฟัน ทำภารกิจส่วนตัว ให้เรียบร้อย จากนั้นก็ไปรวมตัวกันที่ศาลาหอสวนมนต์ เพื่อทำวัตรสวดมนต์ในตอนเช้า ตีหน้าครึ่งสามเณรส่วนใหญ่ก็ออกบิณฑบาต ผม นาคและสามเณรพี่เลี้ยงก็ช่วยทำความสะอาดวัด (ทำเป็นกิจวัตรเลยครับ) จากนั้นล้างไม้ล้างมือเตรียมบาตร สำหรับลงฉันข้าวตอนเข้าช่วง 07.30 น. เสร็จจากกิจการฉันอาหารเช้าก็จะมีกิจกรรมให้เราได้ทำอย่างมากมาย
ช่วงนั้นผมเองก้พอจะจำได้ว่า กิจกรรมที่จะต้องทำเป็นประจำคือ การซ้อมสวดคำขอบรรพชา การเย็บอาสนะ การทำขาตั้งบาตรของตนเอง (ตัดไม้ เหลาไม้ ถักตามขั้นตอน) เพื่อจะได้มีใช้งาน ช่วงแรกจะใช้ขาตั้งบาตเหล็ก เวลาวางจะมีเสียงดัง นอกจากนี้ยังมีการทัศนะศึกษา การทำงานช่วยสามเณรต่าง ๆ
วิถีชีวิตของนาคที่รอบวชก็จะต้องปฏิบัติก่อนบวชประมาณ 1 เดือน และก็ส่วนใหญ่จะต้องปฏิบัตเหมือนกับสามเณรเลยละครับ ผมมาเข้าใจในภายหลังว่าหลังหมดคือวิธีการฝึกปฏิบัติและการเรียนรู้ให้เรามีความก้าวหน้า
เมื่อถึงวันบวช ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่สร้างความตื่นเต้นให้ผมเป็นอย่างมาก ทั้งงานที่ดูยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกในชีวิตของผมที่จะได้บวช พ่อแม่ผมก็พากันมาร่วมงานบวช มอบผ้าไตรให้ เสร็จพิธีก็เดินทางกลับ ผมน้ำตาคลอเพาะคิดถึง แต่ก็ต้องทำใจเพราะบวชแล้วนี้
หลังจากบวชก็ปฏิบัติกิจตามปกติ ทำวัตรเช้า-เย็น ทำกิจวัตร ออกบิณฑบาต ช่วยงานวัด เรียนหนังสือ ช่วง 08.00-16.00 น. ช่วงแรกของการฉันข้าวนั้นจะฉันเพียงมื้อเดียว ช่วงเพลจะมีน้ำนมถั่วเหลืองมาให้ฉัน แต่วันไหนมีโยมมาเลี้ยงเพลก็จะได้ฉันสองมื้อเช้าและเพล การฉันก็ต้องฉันในบาตร สมัยนั้นบาตรก็เป็นบาตรเหล็กสีดำ ใครไม่ดูแลรักษา ล้าง เช็ดให้แห้งก็จะเกิดสนิม ต้องนำมาขัดและทาสีใหม่ ใครทาสีใหม่บาจะมีกลิ่นสีเหม็นมาก หากไม่มีสีก็ต้องทำการขัดและลงเทียนเคลือบเอา ช้อนก็จะใช้เป็นช้อนพลาสติก จะได้ไม่เสียงดัง แต่ปัจจุบันนี้วัดเปลี่ยนมาใช้บาตรสแตนเลสหมดแล้ว
การเรียนก็เหมือนกับโรงเรียนทั่วไป แต่เพื่อเรามาจากหลายจังหวัดหลายภาค ได้เรียนรู้ทั้งภาษาบาลี (วิชาในห้งเรียน) ส่วนนอกห้องเรียนก็ีภาษาส่วย เขมร ลาว ภาษากลาง สนุกดีครับ เรียน ม.1-2 ก็ปกติดีครับ แต่พอช่วงใกล้จะจบ ม.3 นี่แหล่ะเป็นช่วงที่ต้องคิดหนัก จะไปต่อที่ไหนดี เพราะตอนนั้นมีแค่ ม.1-2-3 แต่ในความที่เรากำลังคิดหนัก ก็มารู้ว่าพระอาจารย์ท่านจะเปิดสอนชั้น ม.ปลายให้เราเรียนด้วย สรุปผมก็ได้เรียนต่อ ม.4-5-6 ต่อที่นี่เลย (แต่จริง ๆ ผมเองก้อยากสึกนะครับ บวชมา 3 ปี ต้องตื่นเช้า และทำงานทุกวัน แต่พ่อแม่ไม่มีเงินส่งเรียน ก็เลยตัดสินใจบวชต่อ...)
ชีวิตช่วง ม.ปลายของผมนั้ก็ถือว่ามีการเปลี่ยนความคิดไปมากที่เดียว สมัยม.ต้น เรียนภาษาบาลี เรียนนักธรรมตรีโทเอก อยากบวชเป็นมหาเปรียญกันเลยที่เดียว แต่พอมาเรียน ม.ปลายก็ทำให้เรามีความคิดเปลี่ยนไป พระอาจารย์ท่านปลูกฝังให้เราพัฒนาตนเอง สร้างอนาคตของตนเองด้วยการเรียนต่อให้สูงขึ้น เพราะท่านบอกว่าแค่ ม.3 โอกาสเจริญก้าวหน้ามีน้อย ผมเองก็ได้รับโอกาสให้เรียนคอมพิวเตอร์ เรียนสายวิทย์-คณิต เรียนกับครูจากโรงเรียนมัธยมดัง ๆ ของระยองที่ท่านพระอาจารย์จ้างมาสอนพิเศษ ซึ่งมีทั้งเรียนในคาบ และเรียนช่วงคำ พอเราขึ้น ม.6 ก็เริ่มมีความคิดสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมเองช่วงนั้นก็ชอบเกษตรการปลูกผัก ปลูกต้นไม้ จึงสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยเลือกคณะเกษตร ครูชีววิทยาและเทคโนโลยีการศึกษา ช่วงนั้นเป็นปีแรกเลยไม่รู้มากนัก สมัยนี้เขาเลือกเรียนวิศวะ และวิทยาการคอมกันมาก
แล้วช่วงการเปลี่ยนของชีวิตเด็กน้อยบ้านนอกจากบ้านวังทะลุ อำเภอนาดี ที่ได้มาบวชเรียนจบ ม.6 ก็ได้สอบติด มหาวิทยาลัยในคณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ชีววิทยา ตอนนั้นพ่อแม่ไม่มีโทรศัพท์ ก็ต้องแจ้งท่านด้วยโทรเลข และโชคดีอีกอย่างหนึ่งที่พระอาจารย์และทางวัดท่านส่งให้เรียนต่อครับ ผมเองก็มาทราบทีหลังว่าพ่อแม่ดีใจมากที่จะได้เห็นลูกได้เรียนสูง จะได้มีอนาคต สมัยนั้นการสอบเอนทรานซ์ถือว่ายากมากเพราะเราจะไม่ทราบคะแนนเลย ทราบเพียงอย่างเดียวคือ เขาจะแจ้งมาว่าสอบติดหรือสอบไม่ติด เท่านั้นเอง ซึ่งหลังจากการได้เรียนต่อนี่เป็นจุดเปลี่ยนแปลงของชีวิตครั้งที่สอง ครั้งแรกช่วงเด็ก ที่มองไม่เห็นอนาคตว่าจะไปไหนต่อ ช่วงที่สอง จบม.6 จะทำอะไรดีและมาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ติดตามการเปลี่ยนของชีวิตเด็กบ้านนอกได้ใน stories from life-เรื่องเล่าจากชีวิต-ep.5 ครับ