05/09/2561

Cricket-and- Butterfly-Insect-จิ้งหรีด-ผีเสื้อ-ทำไม-จึงจัดอยู่ใน-กลุ่ม-แมลง

          สวัสดีครับ  วันนี้มีสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกมาเสนอเป็นความรู้ครับ นั่นคือ แมลง  หรือภาษาอังกฤษว่า Insect   การที่สิ่งมีชีวิตจะจัดอยู่ในกลุ่มแมลง class Insecta  ในไฟลัมอาร์โทรโพดา เรียกสั้นๆตามศัพท์ทางชีววิทยาว่า Arthropode
อาร์โทรพอด  โดยจะมีเกณฑ์สำคัญๆ ในการจัดกลุ่มเป็นแมลง (Class Insecta) ดังนี้

          Class Insecta เป็นคลาสที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด ประมาณ 1 ล้าน 5 แสนชนิด ได้แก่ พวกแมลงต่างๆ สัตว์ในคลาสนี้
   -  มีหนวด 1 คู่
   -  มีขา 3 คู่
   -  ไม่มีปีก หรือมีปีก 1-2 คู่
   -  มีตาประกอบ
   -  มีส่วนของลำตัวแยกออกชัดเจนเป็น 3 ส่วน ได้แก่  ส่วนหัว (Head) ส่วนอก (Thorax)
และส่วนท้อง (Abdomen)
   -  มีท่อลมเป็นอวัยวะหายใจ
   -  มีท่อมัลฟีเกียน (Mulpigian tubules) ไว้ขับถ่าย
   -  มีการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็น 4 แบบ ได้แก่ ตัวสามง่าม ยุง แมลงวัน ผีเสื้อ แมลงปอ แมลงสาบ ปลวก มดจิ้งหรีด ตั๊กแตน ฯลฯ
(ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/library_2/kingdom_of_animalia/06.html)











         ผีเสื้อ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำเบ้อ) เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน
          การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยวัฏจักร ดังนี้ คือ
ระยะไข่ (Egg Stage)
ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)
(ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ผีเสื้อ_(แมลง))

          จิ้งหรีด  ถือเป็นแมลงที่มีขนาดลำตัวปานกลางเมื่อเทียบกับแมลงโดยทั่วไป มีปีก 2 คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ขาคู่หลังใหญ่และแข็งแรงใช้สำหรับกระโดด ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทำเสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันดีของจิ้งหรีด ขณะที่ตัวเมียจะไม่สามารถทำเสียงดังนั้นได้ และจะมีอวัยวะสำหรับใช้วางไข่เป็นท่อยาว ๆ บริเวณก้นคล้ายเข็ม เห็นได้ชัดเจน
          จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตแบบไม่ต้องผ่านการเป็นหนอนหรือดักแด้ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะเหมือนตัวเต็มวัย เพียงแต่ยังไม่มีปีก และมีสีที่อ่อนกว่า ต้องผ่านการลอกคราบเสียก่อน จึงจะมีปีกและทำเสียงได้ จิ้งหรีดจะผสมพันธุ์เมื่อเป็นตัวเต็มวัย การผสมพันธุ์และวางไข่แต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 15 วันต่อครั้ง ในแต่ละรุ่น เมื่อหมดการวางไข่รุ่นสุดท้ายแล้วตัวเมียก็จะตาย โดยตัวผู้จะทำเสียงโดยยกปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียง เพื่อเรียกตัวเมีย จังหวะเสียงจะดังเมื่อตัวเมียเข้ามาหา บริเวณที่ตัวผู้อยู่ ตัวผู้จะเดินไปรอบ ๆ ตัวเมียประมาณ 2-3 รอบ ช่วงนี้จังหวะเสียงจะเบาลง แล้วตัวเมียจะขึ้นคร่อมตัวผู้ จากนั้นตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศตัวเมีย หลังจากนั้นประมาณ 14 นาที ถุงน้ำเชื้อก็จะฝ่อลง แล้วตัวเมียจะใช้ ขาเขี่ยถุงน้ำเชื้อทิ้งไป เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียใช้อวัยวะวางไข่ที่แทงลงในดินที่มีลักษณะเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ก็จะฟักออกเป็นตัวอ่อน ตลอดอายุไข่จิ้งหรีดตัวเมียสามารถวางไข่ได้ตั้งแต่ 600-1,000 ฟอง ซึ่งจะวางไข่เป็นรุ่น ๆ ได้ประมาณ 4 รุ่น
(ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/จิ้งหรีด)