25/09/2561

watphananchoeng-ท่องเที่ยว-ไหว้พระ-โบราณสถาน-สมัยอยุธยา-วัดพนัญเชิง-จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          ตั้งแต่ละครบุพเพสันนิวาสออกอากาศ ทำให้กระแสออเจ้าดังมาก แม้แต่ที่โรงเรียนผมก็ยังมีการจัดทัศนศึกษาเส้นทางประวัติศาสร์สมัยอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ผมก็เลยถือโอกาสไปท่องเที่ยวและไหว้พระในวัดต่างๆ ได้แก่วัดใหญ่ชัยมงคล  วัดที่สองคือวัดนี้
วัดพนัญเชิงฯ 
ซึ่งมีพระคู่บ้านเมือง คือหลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก หรืออีกชื่อหนึ่งที่ชาวจีนได้ให้ความเคารพและเรียกว่า ซำปอกง และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมานมัสการ
เคยได้ยินแต่ทางโทรทัศน์
พอพบเห็นก็อัศจรรย์ใจถึงความยึ่งใหญ่ของพระประธานที่สูงใหญ่โตมาก ในวันที่ไปก็มีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวจีนมาไหว้พระจำนวนมาก นอกจากนั้นพอได้ศึกษาประวัติของวัดและพระพุทธไตรรัตนายกยิ่ง
มีความอัศจรรย์เพิ่มขึ้นเพราะเป็นวัดเก่าแก่ โบราณสถานในสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วย ลองมาชมภาพที่ผมได้ถ่ายภาพมาฝากและศึกษาประวัติของวัดพนัญเชิงฯกันครับ
           วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา 
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร มีจุดเด่นสำคัญ คือ 
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง 
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา  เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า 
ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนา
กรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี



           พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ และใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา หน้าตักกว้าง 20 เมตรเศษ สูง 19 เมตรพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๘ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปีและเมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตกปรากฏในคำให้การขาวกรุงเก่าว่าพระปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหล
เป็นที่อัศจรรย์   หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก หรือพระโตของชาวอยุธยาองค์นี้ ถือกันว่า เป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด

         จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ได้โปรดเกล้าให้บูรณะใหม่หมดทั้งองค์  และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่รู้จักกันในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื้อสายจีนว่า หลวงพ่อซำปอกง คำว่า พแนงเชิง มีความหมายว่า นั่งขัดสมาธิ ฉะนั้น คำว่า วัดพนัญเชิง(วัดพระแนงเชิง หรือ วัดพระเจ้าพแนงเชิง)  จึงหมายถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยคือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก นั้นเอง หรืออาจสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องพระนางสร้อยดอกหมาก คือ เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตายนั้น พระนางคงนั่งขัดสมาธิ เพราะชาวจีนนิยมนั่งขัดสมาธิมากว่านั่งพับเพียบจึงนำมาใช้เรียกชื่อวัด บางคนก็เรียกว่า วัดพระนางเอาเชิง ตามสาเหตุที่ทำให้พระนางถึงแก่ชีวิต ฉะนั้น ถ้าเรียกนามวัดตามความหมายของคำว่า วัดพนัญเชิง ก็ย่อมหมายความถึงวัดที่มีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ คือหลวงพ่อโต ( อ้างอิงจากประวัติวัดพนัญเชิงข้อมูลของทางวัดในปัจจุบัน )


ที่มาของข้อมูล
https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพนัญเชิงวรวิหาร
https://watboran.wordpress.com/category/06วัดพนัญเชิง/

สินเชื่อที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการทางการเงินของคนมีรถ เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ดีขึ้น ไม่ว่ารถจะยังผ่อนอยู่ หรือปลอดภาระแล้ว ก็เอามาแลกเงินกับเราได้ - ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว - รวบหนี้รถ หนี้บัตร มาเคลียร์เหลืออยู่ที่เดียว ผ่อนสบายขึ้น คลิกสมัครเลย! #ทีทีบีไดรฟ์ #รถแลกเงิน #รับเงินสดรถยังมีขับ #ทีเอ็มบีและธนชาตเปลี่ยนเป็นทีทีบี #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #TMBThanachart #ttb #MakeREALChange