28/02/2566

Summary of soil science-สรุปเรื่องดิน วิทยาศาสตร์ ม.2

 สรุปเรื่องดิน วิทยาศาสตร์ ม.2


1. ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งทำกิน เกษตรรม เลี้ยงสัตว์ การคมนาคม

2. กระบวนการเกิดดิน
ดินเกิดจาการผุพังตามธรรมชาติของอินทรียสาร ซากพืช ซากสัตว์ เน่าเปื่อยทับถมเป็ชั้น ๆ บนผิวโลก มีลำดับขั้นตอนดังนี้
2.1. หินมีการผุพังแตกหักมีขนาดแลกลง เพราะแสงแดด น้ำฝน 
2.2. พืชและสัตว์ขนาดเล็กเข้าไปอาศัยตามรอยแตกหัก เมื่อตายลงจะสลายกลายเป็นฮิวมัส
2.3. ฮิวมัสก็จะมีการผสมกับเศษหินขนาดเล็กที่มีความชื้นเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์

3. ลักษณะของดินจะมีความแตกต่างกัน เพราะ
- วัตถุต้นกำเนิดดิน
- ลักษณะภูมิประเทศ
- เวลาในการผุพัง ทับถม
- ภมูิอากาศ ปริมาณฝน อุณหภูมิ
- สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่และสิ่งมีชีวิตที่ตายเน่าเปื่อยลงไป


4. สมบัติของดิน
-เนื้อดิน ได้แก่ ดินทราย ดินร่วน และดินเหนียว
ดินทราย ไม่อุ้มน้ำ ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีธาตุอาหารต่ำ ถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย
ดินร่วน อุ้มน้ำ ระบายน้ำได้ดี มีฮิวมัสสูง เหมาะกับการเพาะปลูก
ดินเหนียว อุ้มน้ำดีมาก ระบายน้ำและอากาศได้ไม่ดี มีธาตุอาหารในดิน

- ความชื้นของดิน จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน รวมทั้งช่วยสลายแร่ธาตุจากดินออกมาเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโต

- สีของดิน เป็นสมบัติของดินที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดินที่มีฮิวมัสมากจะมีสีดำคล้ำ ดินที่มีสีแดงเพราะมีแร่เหล็กมาก

- ความเป็นกรด-เบสของดิน เพราะเมื่อน้ำมีการสลายแร่ธาตุออกมา ก็จะทำให้เกิดการทำปฏิกิริยาเคมีเกิดเป็นสภาพกรด-เบสของดิน ซึ่งพืชแต่ละชนิดก็เจริญเติบโตได้ในความเป็นกรดเบสที่แตกต่างกันไป


5. ชั้นหน้าตัดดิน ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6 ชั้น คือ

ชั้น O  หรือชั้นอินทรีย์วัตถุ เป็นชั้นที่มีฮิวมัสมาก 
ชั้น A  ชั้นดินแร่ ชั้นที่ฮิวมัสมีการผสมกับดิน ทำให้ชั้นนี้มีดินสีดำคล้ำ
ชั้น E  ชั้นชะล้าง มีลักษณะเม็ดดินที่หยาบ มีอินทรีย์สารน้อย
ชั้น B ชั้นดินล่าง มีการสะสมของแร่ต่าง ๆ มีตะกอน ดินมีลักษณะเหนียว มีความชื้นสูง
ชั้น C  ชั้นการผุพังของหิน เป็นชั้นต้นกำเนิดดิน หรือหินดินดาน ส่วนใหญ่จะเป็นก้อนหินขนาดเล็ก ๆ 
ชั้น R  ชั้นหินพื้นฐาน หินที่ยังไม่ผุสลาย มีลักษณะเป็นก้อนใหญ่ ๆ


6. การปรับปรุงตุณภาพดิน
- ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อหยาบ ดูดซับน้ำได้น้อย แก้ได้โดยการเติมอินทรีย์วัตถุอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดูดซับน้ำได้ดีขึ้น

- ดินจืด ดินที่ธาตุอาหารไม่เพียงพอ อาจจะเกิดจากการปลูกพืชนิดเดียวเป็นประจำ แก้โดย การปลูกพืชตระกูลถั่ว ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ในส่วนที่พืชต้องการ

- ดินเปรี้ยว คือ ดินที่มีความเป็นกรด-เบสต่ำกว่า 5.5 ซึ่งอาจจะเกิดจากแร่ธาตุของดิน การใส่ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานาน แก้โดยการใส่ปูนขาว ลดความเป็นกรดของดิน

- ดินเค็ม เกิดจากความเข้มข้นของเกลือในดินสูง แก้โดยการใช้น้ำจืดชะล้าง เติมสารแคลเซียมซัลเฟต หรือกำมะถันลงในดิน เพื่อปรับสภาพสารในดินแล้วนำน้ำมาล้างระบายออก

- ดินด่าง ซึ่งมีความเป็นกรดเบส มากกว่า 7 เพราะมีเกลือโซเดียมคลอไรด์หรือโซเดียมคาร์บอเน็ตอยู่มาก ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เช่นบริเวณเขาหินปูน แก้โดยการเติมผงกำมมะถันลงไปเพื่อปรับสภาพดิน