24/02/2558

So-Thorn-Buddhada-images-พระพุทธโสธร-พระแห่งศรัทธา-ศูนย์รวมจิตใจ-ของ-ชาวประชา

           สวัสดีครับ เทศกาลตรุษจีนในเมืองไทยผ่านไปเรียบร้อยด้วยความสุขที่ทุกผู้ทุกคนทั้งเชื่อสายจีนหรือไทยแท้  ผมเองก็ได้เดินทางไปไหว้พระพุทธโสธร เพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิตและถือโอกาสในการ
กลับบ้านที่จากมานาน  
           พระพุทธโสธรเป็นพระประจำจังหวัดฉะเชิงเทราที่ชาวพุทธโดยทั่วไปให้ชาวเคารพ นับถือและเดินทางมาสักการะกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งในวันทีผมเดินทางไปก็เช่นกัน บางครั้งจะต้อพูดว่าสถานที่ที่เราจะไปไหว้พระนั้นอาจจะคับแคบไปด้วยซ้ำ แต่ผู้คนชาวพุทธจำนวนมาก็ยังศรัทธาเลื่อมใส และมาไหว้พระพุทธโสธรด้วยความเรียบร้อยอย่างดีทีเดียว  ....นี่แหล่ะพลังแห่งศรัทธา
         คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร (องค์กลาง)
อิติ อิติ อิติ โสธโร นโม พุทธา ยะ ยะธา พุธโมนะ


คาถาบูชาพระพุทธโสธร
กายะนะ วาจายะวะ วาโสธะรัง
นามะ อิติปาริหะ ริยะการัง
พุทธธะ รูปัง อะหังปิ
วัณทามิ สัพพะโส
คาถาบูชาพระ 5 องค์ ของหลวงพ่อโสธร
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร
ยะ ทรงอากาศ พุทธังแคล้วคลาด ธัมมัง แคล้วคลาด
สังฆัง แคล้วคลาด ศัตรูภัยพาล วินาศสันติ
นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ โมกาโร โกนาคะมะโน
นานาจิตเต พุทธกาโร กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต
ธากาโร ศรีศากะยะมุนี โคตะโม ยะกันเน ยะกาโร อะริยะ
เมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัจจะพุทธา นะมามิหัง
คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร : คาถาบูชาหลวงพ่อโสธรนี้ ภาวนาทุกวันจะปลอดภัย ป้องกันอันตรายทั้งปวง ร่มเย็นเป็นสุขตลอดชีวิต อีกทั้งมีเมตตามหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง นำมาซึ่งโภคทรัพย์

พระพุทธโสธร
          หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ ปางขัดสมาธิเพชร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูน ลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว พระเนตรเนื้อเลียนแบบพระสมัยล้านช้าง หรือที่เรียกว่า ”พระลาว” ได้บูรณะหรือสร้างขึ้นในปลายกรุงศรีอยุธยา หรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์

23/02/2558

Heliotropium indicum-and-beautiful-grass-ดอกหญ้างวงช้าง-และ-ดอกหญ้า-สวย-ริม-สวน


ฉันคงเป็นแค่ดอกหญ้าจริง..จริงใช่ไหม
ดอกไม้ข้างถนนที่ใครหลายคนไม่เคยมองเห็นค่า
ฉันคงได้แต่วาดความฝันลวงตา..
ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าเธอยังมีใครอีกคน
ฉันคงต้องทนทรมานอยู่อย่างนี้ใช่ไหม
ทั้งที่ในใจมันปวดปร่า...
ความจริงหัวใจฉันก็มีค่า
ไม่แตกต่างจากดอกไม้สวยงามดอกอื่นหรอก
ดูเหมือนฉันเป็นแค่ผู้หญิงที่จนตรอก
เสาะหาความรักมาตลอดเรื่อยมา
เวลาก็ยังสอนให้ฉันรู้ว่า..
ดอกหญ้าก็แค่สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีค่าจริง-จริง..
(ขอบคุณบทกลอนจาก http://www.dreampoem.com/forum/index.php?topic=2457.0;wap2)
ถึงเป็นเพียง แค่ดอกหญ้า ที่ไร้ค่า
สนามหญ้า หน้าบ้าน คงเปลี่ยวเหงา
ไม่ว่าใคร ไม่เห็นเธอ ใจเหงาเศร้า
สนามหญ้า คงจะเหงา หากไร้ดอกหญ้าอย่างเธอ 
(ขอบคุณบทกลอนจาก http://www.dreampoem.com/forum/index.php?topic=2457.0;wap2)



ถึงเป็นเพียง .. ดอกหญ้า ..
ใช่จะไร้ค่า .. ไร้ความหมาย ..
อาจจะไม่โดดเด่น .. กว่าใคร ๆ ..
แต่ก็มีชีวิต .. มีจิตใจ .. เหมือนกัน ..
(ขอบคุณบทกลอนจาก http://www.dreampoem.com/forum/index.php?topic=2457.0;wap2)
 แม้เป็นเพียง .. ดอกหญ้า .. 
แต่ยังคงคุณค่า .. ในตัวของฉัน ..
แม้เวลา .. เวียนเปลี่ยน .. คืนและวัน ..
แต่ดอกหญ้าอย่างฉัน .. คงมั่น .. ในค่าของตัวเอง ..
(ขอบคุณบทกลอนจาก http://www.dreampoem.com/forum/index.php?topic=2457.0;wap2)
           หญ้างวงช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliotropium indicum เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Boraginaceae ลำต้นไม่มีเนื้อไม้ มีขนสั้นๆ จับแล้วเหนียวมือ มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยว มีขนสั้นๆกระจายทั่วผิวใบ จับแล้วรู้สึกเหนียวมือ ดอกช่อ ปลายช่อม้วน มีดอกย่อยอยู่ที่ช่อดอกเพียงด้านเดียว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเดี่ยวกลม ปลายผลเป็นร่อง มีกลีบเลี้ยงหุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยม อ่อนเป็นสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล ผลแห้งแตก เมล็ดสีเทาดำ ในฟิลิปปินส์ใช้เป็นยาแก้บวม

ขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87

20/02/2558

Desert Rose2-ชวนชมสวยหลังฝนตก

           เมื่อวานที่ผ่านมาก็เป็นวันที่มีความชุ่มฉ่ำหลังจากฝนตกลงมาอย่างหนักในช่วงกลางคืน ของเดือนแห่งความรัก กุมภาพันธ์ ที่ก่อนหน้านี้จะพบกับความร้อนระอุอย่างมากมาย

และเมื่อฝนเทลงมาก็ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทั้งพืชและสัตว์ที่ได้รับประโยชน์และความชุ่มชื้นจากน้ำจากฟากฟ้า หรือน้ำฝน

และวันนี้ดอกไม้ในที่ทำงานของผมก็ดูสดชื่นบาน สวยสดงดงามมาก และผมเองก็ไม่พลาดที่จะถ่ายภาพ ดอกไม้ ดอกชวนชมสีชมพู ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ของเดือนแห่งความรัก เดือนที่อะไรๆก็สีชมพูไปหมดครับ
ลองมาชมภาพดอกชวนชมหลังฝน กันนะครับ



      ชวนชมชวนชิดใกล้       ดมดอม
    ผิกลิ่นจะมิหอม                   ยั่วเย้า
  แต่มวลหมู่ภมรยอม              สยบ
             หลงไต่หลงตอมเคล้า             คลั่งไคล้สีสัน
(ขอบคุณบทกลอนจาก http://aromklon.com/index.php?topic=1363)




 ชมพลันชวนชื่นให้       ชิดชม
แดงดอกทรงดูสม                 เด่นหล้า
คะนึงชื่อชวนชม                  ปานหนึ่ง แม่นา
แลนุชสุดเหว่ว้า                     อยู่ห้องหนใด
(ขอบคุณบทกลอนจาก http://aromklon.com/index.php?topic=1363)


แรกเห็นชื่อใจนึกรู้สึกรัก          ยิ่งรู้จัก..ใจยิ่งซึ้งจริงนี่
ชื่อ "ชวนชม" ชวนชื่นยื่นไมตรี         ต่อแต่นี้ขอใกล้..ไม่ห่างตา

แต่ละช่อดอกสล้างช่างงามสม   สีแดงอมชมพูหรูเลิศค่า
แม้ภมรยังว่อนร่อนไปมา             ไม่จากลา"ชวนชม"หลงดมดอม
(ขอบคุณบทกลอนจาก http://aromklon.com/index.php?topic=1363)

18/02/2558

Desert Rose-ดอกชวนชม-สวย-สีชมพู-หวาน-วันอังคาร


          ดอกชวนชมปรากฏในวรรณคดีอิเหนา ตอนนางจินตะหราพาอิเหนาไปชมสวน (พระราชนิพนธ์ในรัชกาล
ที่ 2) โดยมีกล่าวไว้ว่า
          พระโฉมยงทรงเก็บกุหลาบเทศ
ประทานองค์อัคเรศจินตะหรา
ทำเทียมเลียมลอดสอดคว้า
กัลยาปัดกรค้อนคม
พระทรงสอยสร้อยฟ้าสารภี
ให้มาหยารัศมีแซมผม
เลือกเก็บดอกลำดวนชวนชม
ใส่ผ้าห่มให้สการะวาตี
           ชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย

ประวัติของชวนชม
          ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes)
นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ

การปลูกเลี้ยง
          ควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดีสูตรที่นิยมให้ปลูกคือดินร่วนผสมใบก้ามปูหมักในอัตราส่วน 3:1 หรือดินปลูกสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ชวนชมลำต้นอุ้มน้ำได้ดีการให้น้ำจึงไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การให้ปุ๋ยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 สูตรเสมอในปริมาณแต่น้อยทุก 2 สัปดาห์เมื่อโตเต็มที่จึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ การตัดตกแต่งกิ่งต้นชวนชม โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้
ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและได้โชว์
โขดหรือหัวที่สวยงามของชวนชม