สวัสดีครับ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร การรับรู้ของคนเราก็จะสามารถรับได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อกระแสการรับรู้จากการสื่อสารนั้นถูกส่งไปยังสมองก็จะแปรผลตามการเรียนรู้ที่เคยผ่านมา การใช้ภาษาในการสอนธรรมะ ด้วยข้อความยาว ๆ อาจจะทำให้เราจดจำได้ยาก เมื่อจำไม่ได้ ไม่เข้าใจ ก็จะนำไปปฏิบัติได้ยากไปด้วย จึงการนำภาษามาแต่งข้อความสั้น ๆ กินใจของผู้รับสาร ทำให้จำได้ และเกิดความเข้าใจ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ลองมาดูคำคม คติธรรมที่มีการเขียนสื่อสารออกมา ลองมาทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติกันครับ ก็เธรมคติธรรมจากป้า ที่ส่งมาให้ผมได้อ่าน ...
- จงเรียนรู้และเติบโต ไม่ใช่แค่ในสถานศึกษา แต่ตลอดเวลาที่มีลมหายใจ
- จงตั้งคำถามในเชิงบวกให้กับตนเองเสมอ ลืมความคิดลบ ๆ ไปซะ มันไม่เคยทำให้ชีวิตดีขึ้น
- คนดี มิใช่ไม่เคยทำผิด คนดี คือคนที่สำนึกผิดและเลิกทำ
- ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ถ้าคุณเริ่มที่จะเป็นผู้ให้ คุณก็จะเป็นคนยิ่งใหญ่ ในสายตาคนอื่น ๆ ได้
- อย่าเสียอารมณ์ เพราะคนปากดี อย่าเสียความดี เพราะลมปากคน
- สนิมเกิดจากเหล็ก ย่อมกัดกินเหล็กฉันใด ความโกรธที่เกิดขึ้นจากใจ ย่อมกัดกินใจผู้โกรธฉันนั้น
- รู้จักคนมันง่าย รู้จักใจคนมันยาก
- อย่าโกงความสุขของตนเอง โดยการไปทุกข์เรื่องของคนอื่น