06/03/2566

Prepare yourself to prevent PM2.5 dust, a threat near you, causing chronic diseases-เตรียมตัว ป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ภัยใกล้ตัว สร้างโรคเรื้อรัง


            สวัสดีครับ  เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ก็เจอกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว ซึ่งคาดการว่าหลายจังหวัดคงจะทะลุ 40 องศาเซลเซียส แต่สิ่งที่มากับอากาศร้อนก็คือ ไฟป่า การเผาวัชพืช หรือวัสดุทางการเกษตรนั่นเอง จึงทำให้เกิดฝุ่นละอองมากมาย การเกิดฝุ่นในปัจจุบันก็มีจากหลายสาเหตุ ซึ่งก็มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไป อย่างฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอุตสาหกรรม  การเผาไหม้ของยานพาหนะชนิดที่ใช้น้ำมัน ฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง รวมทั้งฝุ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ทางภาคการเกษตรกรรม

            ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ เมื่อเราหายใจเข้าไปฝุ่นละอองเหล่านี้ก็จะไปเกาะกับทางเดินหายใจ ปอด ทำให้เกิดการระคายเคือง หายใจติดขัด เกิดโรคปอด ภูมิแพ้ หรืออาจจะนำไปสู่การเกิดมะเร็งปอด ซึ่งมีผลต่อชีวิต

            หากพูดถึงว่าจะต้องทำอย่างไร ฝุ่นถึงจะหายไป  คงต้องไปปรับทัศนคติของพลเมือง เพิ่มการศึกษาการรับรู้โทษภัย วิธิการจัดการที่ถูกต้อง  ส่วนทางรัฐก็น่าจะมีมาตรการที่เคร่งครัดออกมาดูแล ซึ่งหากจัดการไม่ได้ลูกหลายหรือเด็กในอนาคตก็คงจะต้องเกิดมากับสภาพอากาศที่เป็นมลพิษมากนั่นเอง



            ในส่วนของการป้องกันที่เราจะทำได้ในปัจจุบัน ก็คือการใช้หน้ากากอนามัย ซึ่งก็คงต้องเป็นหน้ากากอนามัยที่เป็นมากมาตรฐานป้องกัน PM2.5  อย่างหน้ากากชนิด N 95  อนาคตหน้ากากอนามัยอาจจะแพงขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามหลักเศรษศาสตร์ 

        


05/03/2566

Prepare for the summer-เตรียมความพร้อมรับหน้าร้อน

(ที่มา  https://www.tmd.go.th/warning-and-events/special-events/การเขาสฤดรอนของประเทศไทย-พ-ศ-2566)

            สวัสดีครับ ตามข่าว ประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูหนาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2566 โดยในตอนกลางวันพื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไปอย่างต่อเนื่อง อุณหภูมิ สูงสุดตั้งแต่ ๓๕ องศาเซลเซียสขึ้นไป ประกอบกับ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทย ตอนบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้หรือลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมแทน ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของ ประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณยอดภูและยอดดอยรวมทั้งเทือกเขายังคงมีอากาศหนาวเย็นต่อไปอีกระยะหนึ่ง และคาดว่าฤดูร้อน จะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 (ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา)

28/02/2566

Summary of soil science-สรุปเรื่องดิน วิทยาศาสตร์ ม.2

 สรุปเรื่องดิน วิทยาศาสตร์ ม.2


1. ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งทำกิน เกษตรรม เลี้ยงสัตว์ การคมนาคม

2. กระบวนการเกิดดิน
ดินเกิดจาการผุพังตามธรรมชาติของอินทรียสาร ซากพืช ซากสัตว์ เน่าเปื่อยทับถมเป็ชั้น ๆ บนผิวโลก มีลำดับขั้นตอนดังนี้
2.1. หินมีการผุพังแตกหักมีขนาดแลกลง เพราะแสงแดด น้ำฝน 
2.2. พืชและสัตว์ขนาดเล็กเข้าไปอาศัยตามรอยแตกหัก เมื่อตายลงจะสลายกลายเป็นฮิวมัส
2.3. ฮิวมัสก็จะมีการผสมกับเศษหินขนาดเล็กที่มีความชื้นเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์

3. ลักษณะของดินจะมีความแตกต่างกัน เพราะ
- วัตถุต้นกำเนิดดิน
- ลักษณะภูมิประเทศ
- เวลาในการผุพัง ทับถม
- ภมูิอากาศ ปริมาณฝน อุณหภูมิ
- สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่และสิ่งมีชีวิตที่ตายเน่าเปื่อยลงไป

water-สรุปเรื่องน้ำ-วิทยาศาสตร์ ม.2


1. โลกประกอบด้วยน้ำ 3/4 ส่วน 

2.  ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเค็ม

3. น้ำจีดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ น้ำในบรรยากาศ  น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน
- น้ำผิวดินจะอยู่บริเวณผิวดิน ใช้อุปโภค บริโภค คมนาคม การเกษตรและท่องเที่ยวพักผ่อน 
- น้ำจีด เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ คลอง สระ 
- น้ำเค็ม คือน้ำที่มีมากกว่า 30% เพราะมีเกลือและแร่ธาตุจากหินผุพังทลายออกมา เช่นเกลือหิน ยิบซัม แหล่งน้ำเค็มได้แก่ ทะเล มหาสมุทร
- น้ำใต้ดิน เป็นน้ำจืดที่มากที่สุดในโลก เกิดจากการซึมลงไปของน้ำผิวดินแล้วสะสมใต้ดินตามช่องว่างของหิน ซึ่งเรียกว่า น้ำบาดาล ส่วนน้ำพุ ก็น้ำใต้ดินที่ถูกแรงดันดันแทรกระว่างช่องว่างของหินจนมาถึงผิวดิน
-  น้ำในบรรยากาศ คือน้ำที่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำสะสมเป็นความชื้นในบรรยากาศ เมื่อมีมากจะกลายเป็นน้ำฝนตกลงมาที่ผิวดิน