08/10/2554

ท่องเที่ยวด่านเกวียน โคราช แหล่งศิลปะ งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา




รูปปั้นไทยๆๆ เอกลักษณ์ของไทย

พระแม่กวนอิม น่าศรัทธาลื่อมสใส อยู่ที่กาญจนบุรี ครับ


พอดีผทผ่านไปอบรมค่ายผู้นำ ที่กาญจนบุรี ระหว่างทางพักกินข้าวได้พบเจ้าแม่กวดอิมสูงตระหง่านงดงามมาก จึงเก็บรุปมาฝาก ถ้าจำไม่ผิดจะอยู่ในตัวเมือง ข้างแม่น้ำ 
จึงขอนำเสนอประวัติคร่าวนะครับ 
เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่าพระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"
พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา มาจุติยังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ เมี่ยวจวง ซึ่งมีราชธิดา 3 องค์ องค์โตชื่อ เมี่ยวอิม องค์รองชื่อเมี่ยวหยวน เยาว์วัยเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด
ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้
พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต เทพารักษ์คอยคุ้มครองเจ้าหญิงอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดาทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก

ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระบิดาเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก
ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหารย์เป็นปางกวนอิมพันมือ องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน
http://www.thamnaai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=470599&Ntype=3
ขอบคุณข้อมูลจาก 

รายละเอียดเพิ่มเติมมากมาย ได้ที่ 

ซุ้ประตู..วัด...ที่บ้านของผม

  
ซุ้มประตูวัด : เป็นองค์ประกอบทางศิลปสถาปัตยกรรมชุดแรกที่จะต้องพบก่อนเข้าสู่พุทธสถานใดๆ ด้วยเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางเข้าออกของพระอาราม ซุ้มประตูนี้อาจต้องมีหลายๆจุด สำหรับเอื้อต่อการเข้าถึงทั้งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยสะดวก แต่จะต้องมีจุดใดจุดหนึ่งที่เป็นประตูหลัก ที่เป็นทางเข้าสู่ภายในยังศูนย์กลางประธาน
ตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ตั้งหรือตำแหน่งรวมทั้งลักษณะรูปแบบของซุ้มประตูวัดนั้น ขึ้นอยู่กับความสำคัญและขนาดของวัด กล่าวคือ หากเป็นวัดสำคัญๆก็นิยมให้มีซุ้มประตูทางเข้า เข้าออกได้ทั้ง 4 ด้าน โดยอาจจะเป็น 2-3 ประตูสำหรับวัดขนาดใหญ่ และจะให้ซุ้มประตูทางเข้าหลักนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับแนวแกนประธานของพระอุโบสถและพระเจดีย์ ซึ่งมักจะกำหนดให้อยู่ตรงกึ่งกลางของผังเป็นส่วนใหญ่ แต่แม้แนวแกนประธานจะไม่อยู่ตรงกลางผัง ก็จะทำซุ้มประตูตรงแนวแกนประธานเป็นหลักเพื่อเป็นการดึงความรู้สึก ความตั้งใจและสมาธิทั้งหมดของผู้มาวัดตรงเข้าไปสู่จุดศูนย์กลางสำคัญของอาคารประธานในผังในทันใดอย่างไรก็ตามในสมัยอยุธยา ปรากฏว่ามีวัดกลุ่มหนึ่งที่นิยมการออกแบบให้ใช้ซุ้มประตูทางเข้าแบบ “ซุ้มคู่” โดยกำหนดให้ตำแหน่งที่ตั้งนั้นประกบขนาบอยู่ข้างแนวแกนประธานเข้าสู่ลานร่วมขนาดเล็กและรวบทางเดินเป็นสายเดียวเข้าสู่แนวแกนประธานอนึ่ง วัดบางแห่งมีแนวกำแพง 2 ชั้น คือชั้นนอกเป็นกำแพงวัด และชั้นในเป็นกำแพงเขตพุทธาวาส มีการทำซุ้มประตูทั้งสองแนว เช่นวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ ลักษณะและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเนื่องจากซุ้มประตูวัดเป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นทางเข้าออกระหว่างโลกภายในและโลกภายนอกดังกล่าว การกำหนดลักษณะของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจึงจำเป็นต้องเน้นให้เป็นจุดเด่น แตะตาหรือสังเกตเห็นได้ง่าย แต่ก็มีข้อกำหนดอยู่ที่รูปแบบลักษณะและขนาดจะต้องไม่ไปทำลายคุณค่าความงามของอาคารประธานภายในนั้นโดยทั่วไปแล้วการทำซุ้มประตูประกอบกำแพงของวัด จะใช้วิธีการก่อสร้างด้วยระบบเครื่องก่อเป็นหลักนับแต่ฐานถึงยอด ยกเว้นซุ้มประตูที่ต้องการมีรูปทรงหลังคาเป็นอย่างทรงคฤห์ ก็จะก่ออิฐถือปูนถึงส่วนเรือนแล้วตั้งเครื่องบนด้วยโครงสร้างหลังคาไม้ มุงกระเบื้อง ตกแต่งหลังคาด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ อาจมีหรือไม่มีหน้าบัน ขนาดของซุ้มประตูทั่วไปมักอยู่ในระยะกว้างประมาณ 1.50-2.00 เมตร และสูงประมาณ 2.50-4.00 เมตร (ไม่นับรวมระยะเครื่องบน) ส่วนชนิดเครื่องก่อทั้งหลังมีบ้างที่ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ บ้างประดับกระเบื้องเคลือบสี บ้างปั้นปูนประดับลายและบ้างก็ใช้วัสดุบุ เช่น หินอ่อน ฯลฯ บานเปิดปิดรวมทั้งกรอบเช็ดหน้าล้วนใช้เครื่องไม้ทั้งสิ้น ตัวบานบ้างเรียบ บ้างก็แกะสลักลาย บ้างเขียนสี บ้างเขียนลายรดน้ำ ซึ่งอาจเป็นรูปทวารบาล หรือ เซี่ยวกาง หรือลายไม้ดอกต่างๆ หรืออื่นๆประกอบลักษณะและรูปแบบโดยทั่วไปในงานสถาปัตยกรรมไทยของซุ้มประตูวัด แบ่งตามลักษณะของรูปทรงหลังคาได้ 8 อย่าง คือ1. ทรงบัณแถลง หมายถึง ซุ้มประตูที่ทำเป็นรูปโค้งแหลม กรอบซุ้มปั้นปูนด้วยการใช้เครื่องประดับแบบช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูลักษณะนี้ใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา 2. ทรงโค้ง หมายถึง ซุ้มประตูที่เป็นเครื่องก่อทั้งหมด ส่วนยอดซุ้มก่อเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูประเภทนี้ น่าจะถือได้ว่าพัฒนารูปแบบจากแบบทรงบัณแถลงที่เป็นรูปโค้งแหลมมาเป็นโค้งกลม เป็นแบบที่นิยมกัมากในยุคสมัยรัตนโกสินทร์นับแต่รัชกาลที่ 3 ลงมาเมื่อประเทศไทยรับอิทธิพลและรูปแบบวัฒนธรรมจากตะวันตก 3. ทรงคฤห์ หมายถึง ซุ้มประตูที่ก่ออิฐรับยอดซุ้มที่เป็นหลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วเหมือนเรือนพักอาศัย การออกแบบซุ้มประตูลักษณะนี้ มักจะใช้วิธีการหันข้างเรือนออก 
4.ทรงคฤห์แบบตรีมุข หมายถึง ซุ้มประตูแบบทรงคฤห์ที่เพิ่มมุขกลางประกอบด้านข้างอีกมุขหนึ่ง เพื่อใช้เน้นเป็นทางเข้าของด้านหน้าวัดโดยตรง


5. ทรงมงกุฎ หมายถึง ซุ้มประตูที่เป็นเครื่องก่อ โดยส่วนยอดซุ้มก่อปั้นเป็นรูปทรงพระมหามงกุฎ สำหรับวัดสำคัญๆก็จะประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเป็นลายประดับ 6. ทรงปราสาทยอดมงกุฎ หมายถึง การทำซุ้มประตูเป็นเครื่องก่อยอดปราสาท มีมุขแนบกับอาคารชักออกทั้ง 4 ด้าน ตอนบนเทินด้วยเครื่องยอดแบบทรงพระมหามงกุฎ 7. ทรงมณฑป หมายถึง ซุ้มประตูที่เป็นเครื่องก่อ มีเครื่องยอดก่อเป็นชั้นๆอย่างยอดมณฑปหรือบุษบก 8. ทรงอย่างเทศ หมายถึง ซุ้มประตูแบบเครื่องก่อ ที่ส่วนยอดนั้นใช้ลักษณะของรูปทรงซุ้มเป็นแบบต่างๆอย่างอิทธิพลศิลปสถาปัตยกรรมต่างชาติ เช่น ยอดเกี้ยว วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯยอดกรอบสามเหลี่ยม วัดศรีสุดาราม 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14618.0;wap2