เบื่อกันมัยกับหน้าตาสีเขียวเหมือนเดิม ของไลน์
มาเปลี่ยนให้สวยงามแบบนี้กันบ้างดีกว่ามัย
สวัสดีครับ วันนี้มรเรื่องมาแนะนำสำหรับคนที่เบื่อหน้าตาไลน์ที่มีสีเขียวตลอดเวลา หรืออยากจะเปลี่ยนให้ไลน์
ของเราสวยงามเหมือนคนอื่นๆบ้าง
การเปลีนธีมในไลน์ก็มีขึ้นตอนไม่ยาก หรือซับซ้อนอะไรเลย เรียกว่าง่ายนิดเดียว
หลังจากการคลิกเปลี่ยนธีมแล้วไลน์ของเราก็จะมีความสวยงาม ตามรูปแบบของธีมนั้นเอง ซึ่งก็มีทั้งแบบฟรี....และแบบต้องจ่ายเงินซื้อ แต่สำหรับวันนี้ผมจะขอแนะนำเฉพาะการเปลี่ยนธีมแบบ....ฟรี....ซื่งก็มีอยู่ 2 สี คือสีน้ำตาล และสีหวานๆแบบสีชมพู ชอบแบบไหนก็ลองมาทำกันเลยครับ
ชวนท่องเที่ยว เรียนรู้ ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ความรู้ทั่วไป เรื่องเล่า เรื่องดี มีสาระ : Let's go together - invite to travel, learn arts, culture, traditions, science, nature, general knowledge, stories, good stories, meaningful : 邀你去旅行,学习艺术、文化、传统、科学、自然、常识、故事、好故事、有意义。: 旅行、芸術、文化、伝統、科学、自然、一般知識、物語、良い物語、意味のあることを学びましょう。: Приглашаем вас путешествовать, изучать искусство, культуру, традиции, науку, природу, общие знания, истории, хорошие истории, осмысленные. #goodstory
31/03/2564
Legend-history of Wat khao sap-part2-ประวัติวัดเขาสาป-ตำนานภูเขาสาป-วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย-ตอนที่ 2
ตอนที่ 2
ยุคพระครูวินัยธร (พิศ ปรกฺกโม) ถึง พระวิทยา จิตฺตธมฺโม
ผมมีเพื่อนรุ่นพี่ชื่อ "ไอ้ถึก" หรือ "จ่าถึก" เป็นญาติสนิทของ นายเสริมศักดิ์ การุญ ส.ส.ระยอง มีชื่อจริงว่า
"ทองอยู่ รอบรู้" ในภายหลังเคยป้อนข้าวป้อนน้ำยามผมตกยาก เป็นผู้พาผมไปรู้จักกับ "พระอาจารย์สุกรี"
ที่วัดจุฬามุนี เมื่อราว 30 กว่าปีที่ผ่านมา
ชาติตระกูลของท่านเป็น "เพชฌฆาต" ตัดคอนักโทษมานับไม่ถ้วนแล้ว ก่อนหักมุมชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ หลวงพ่อสุกรีของผมเล่าว่า เคยผ่านเย็นร้อนอ่อนแข็งมาร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ กรอกแม่โขงเข้าปากเป็นขวดๆ ก่อนเข้าประตูโบสถ์วันรุ่งขึ้น ดำดินมาอยู่ระยองพรรษาแรกๆ คนระยองตั้งแต่เจ้าเมืองลงมาถึงคนถีบสามล้อมองว่าท่านเป็นพระบ้า ดูจะไม่ต่างกับ "พระวิทยา จิตตธมโม" นักดอก ซึ่งก็กรอกเหล้าเป็นขวดๆ
ก่อนเข้าโบสถ์เช่นกัน คนอย่างนี้ถือเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับพระองคุลิมาล มาเฟียกลับใจที่บรรลุ
เป็นพระอรหันต์เรื่องหลวงพ่อสุกรี เขียนไว้แค่นี้ก็เหลือเกินแล้ว หากท่านสนใจไปสืบค้นเอาเอง
สิ้นท่านชุมพลก็มาถึงท่านพิศ ศิษย์สำนักจุฬามุนี
"อาจารย์ชุมพล" เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดเขาสาป คนคนอายุสั้น มีอายุเพียง 45 ปี แต่มี พรรษายาวถึง 20 พรรษา สั้นทางโลกแต่ยาวทางธรรมอย่างนี้เรียกว่า คนมีบุญวาสนา อาจารย์ชุมพลเป็นพระนักพัฒนาหาตัวจับยาก
"อาจารย์พิศ" เป็นคนปักษ์ ใต้ใจเด็ด เป็นนักเทศน์ฝีปากเอก หลวงพ่อสุกรีส่งมาเป็นเจ้าสำนักวัดเขาสาปเมื่อกลางปี 2524 เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่สอง เป็นคนปัญญาดีมีสายตายาว จับมือกับ นายอุทัย เจริญสวัสดิ์ นักต่อสู้คู่บารมีวิ่งเต้นขออนุญาตกรมการศาสนา เปิดโรงเรียนเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ (อนุบาล) ตั้งแต่ปี 2524 โดยมี นายเฉียม ชลศิริ เป็นมือขวา ครั้นต่อมาปี 2528 นายอุทัยก็หนุนท่านพิศให้ เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา "มงคลวิทยา" กรมการศาสนาอนุญาต
ลงวันที่ 30 เมษายน 2528
Legend-history of Wat khao sap-ประวัติวัดเขาสาป-ตำนานภูเขาสาป-วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย-ตอนที่ 1
ตอนที่ 1 ประวัติโดยสังเขป
วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย(วัดเขาสาป)
ตั้งอยู่ เขาสาป หมู่บ้านจำรุง 108/2 หมู่ 1 ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
__________________________________________
ตำนานวัดเขาสาป
เขาสาปสาปแต่ชื่อ เขานั้นหรือจะสาปใคร
สามัคคีธัมโมทัย มงคลคีรีนิรันดร
ชาติศาสน์กษัตริย์ จักยืนหยัดไม่โยกคลอน
เพราะฟังคำสั่งสอน พระพุทธองค์ชี้นำทาง
ศีลสมาธิปัญญา คือมรรคาที่จัดวาง
ดับทุกข์ดับครวญคราง ดับนิวรณ์โลกียชน
มนุษยสมบัติสวรรค์สมบัติ ฤาเลาะลัดสู่หลุดพ้น
พุทธธรรมนำมวลชน จักล่วงพ้นอบายภูมิเทอญ
วัดนี้ ได้มีการริเริ่มคิดสร้างเมื่อ พ.ศ.2495
โดยครั้งแรก นายอุทัย เจริญสวัสดิ์ ได้ชวน นายสำเริง อรัญนาถและ นายโพล้ง ฟุ้งเฟื่อง ชาวบ้านช่น เป็นผู้นำทางให้ขึ้นเที่ยวบนภูเขาสาป นายโพล้งได้นำไต่ขึ้นทางด้านหินขาวเมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว นายอุทัยเกิดความรู้สึกอยากให้เขาลูกนี้เป็นวัดแต่ก็ไม่ได้บอกกล่าวกับผู้ที่ขึ้นไปด้วย เมื่อกลับกรุงเทพฯแล้วไม่นาน
นายเฉียม ชลศิริ ชาวบ้านจำรุง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับเขาสาปได้มาพบนายอุทัย นายอุทัยได้ชักชวน
นายเฉียมให้ช่วยกันชักชวนชาวบ้านจำรุงให้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นที่เขาสาป ซึ่งนายเฉียมก็ตกลงและยินดี
ยกที่ดินให้เพื่อการก่อสร้างโดยมีที่ดินติดต่อกับเขาสาป ซึ่งเป็นที่ของนางแกว ภรรยานายเฉียมซึ่งเป็นสวนมะม่วงกับขนุน โดยนายอุทัยจะเป็นฝ่ายจัดหาเงินมาดำเนินการก่อสร้าง และลำดับต่อมามีผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด
อีก 4 รายคือ นายไทย ขวัญม่วง, นายเสริญ อินพรหม, นายจั๋ง จาระติกรรมา และนายป่อง ชลสวัสดิ์
ซึ่งทั้ง 4 ท่านนี้มีที่ดินอยู่ในบริเวณติดต่อแนวเดียวกันกับเขาสาปเช่นกัน
โดยครั้งแรก นายอุทัย เจริญสวัสดิ์ ได้ชวน นายสำเริง อรัญนาถและ นายโพล้ง ฟุ้งเฟื่อง ชาวบ้านช่น เป็นผู้นำทางให้ขึ้นเที่ยวบนภูเขาสาป นายโพล้งได้นำไต่ขึ้นทางด้านหินขาวเมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว นายอุทัยเกิดความรู้สึกอยากให้เขาลูกนี้เป็นวัดแต่ก็ไม่ได้บอกกล่าวกับผู้ที่ขึ้นไปด้วย เมื่อกลับกรุงเทพฯแล้วไม่นาน
นายเฉียม ชลศิริ ชาวบ้านจำรุง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับเขาสาปได้มาพบนายอุทัย นายอุทัยได้ชักชวน
นายเฉียมให้ช่วยกันชักชวนชาวบ้านจำรุงให้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นที่เขาสาป ซึ่งนายเฉียมก็ตกลงและยินดี
ยกที่ดินให้เพื่อการก่อสร้างโดยมีที่ดินติดต่อกับเขาสาป ซึ่งเป็นที่ของนางแกว ภรรยานายเฉียมซึ่งเป็นสวนมะม่วงกับขนุน โดยนายอุทัยจะเป็นฝ่ายจัดหาเงินมาดำเนินการก่อสร้าง และลำดับต่อมามีผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด
อีก 4 รายคือ นายไทย ขวัญม่วง, นายเสริญ อินพรหม, นายจั๋ง จาระติกรรมา และนายป่อง ชลสวัสดิ์
ซึ่งทั้ง 4 ท่านนี้มีที่ดินอยู่ในบริเวณติดต่อแนวเดียวกันกับเขาสาปเช่นกัน
ต่อมาในปี พ.ศ.2500 นายจำเนียร เจียมสมบูรณ์ หัวหน้าแผนกรังวัดที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหา-กษัตริย์ ได้มาขอให้นายอุทัยช่วยเหลือพาพระพม่าและชาวพม่าเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อชมวัดต่างๆ
ซึ่งนายอุทัยได้ตกลงช่วยเหลือ นำเที่ยวจังหวัดนครปฐม อยุธยา สระบุรี และล่องน้ำดูวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระและชาวบ้านพม่าเหล่านี้ต่างมาในงานฉลองพุทธศตวรรษ 2500 ปี โดยอาศัยพักอยู่ที่
วัดประดิษฐาราม(วัดมอญ เจริญพาสน์) ซึ่งนายจำเนียรมีบ้านใกล้กับวัดนี้ โดยมีพระสุชิน ญาณรังษี
จำพรรษาอยู่วัดเดียวกัน เป็นล่ามแปลภาษาพม่าเป็นไทยในระหว่างนำเที่ยว
30/03/2564
Easy to do-ร้อยมาลัย ไม่อยากอย่างที่คิด
การร้อยมาลัย เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมไทยและความเป็นไทย ที่ทั้งสวยงามประณีตบรรจง และสื่อถึงความหมายในทางที่ดี
ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยที่เกิดจากฝีมือการประดิษฐ์ประดอยของผู้ร้อยมาลัยผสมผสานกับความงามของดอกไม้ กลีบดอกไม้ ใบไม้นานาพันธุ์ จนเกิดเป็นรูปแบบและลวดลายวิจิตรตระการตรา มาลัยเป็นความงามที่บ่งบอกถึงความนุ่มนวล อ่อนโยน ความมีสมาธิของชนชาวไทย
มาลัยกลม หมายถึง มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นวงกลมและรูปทรงตามยาวตรงและขนานกันไปตลอดเข็ม นิยมร้อยตั้งแต่ขนาด 6 กลีบขึ้นไปจนถึง 12 กลีบ หรือมากกว่านี้ก็ได้ย่อมแล้วแต่ชนิดของดอกไม้ ถ้าดอกเล็กหรือกลีบเล็กก็ใช้จำนวนกลีบมาก แต่ถ้าดอกไม้ดอกใหญ่หรือกลีบใหญ่ก็ใช้จำนวนกลีบน้อย
มาลัยชายเดียว เป็นมาลัยที่มีลักษณะเป็นพวงกลม มีอุบะห้อยลงมาเป็นชายเพียงจุดเดียว อาจเรียกว่า มาลัยมือ หรือมาลัยคล้องแขน ถ้าใช้ในการทูลเกล้าฯ ถวายจะเรียกว่า มาลัยข้อพระกร นอกจากนี้ ยังใช้บูชาพระ หรือไหว้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
อุปกรณ์
- เข็มร้อยมาลัย ด้าย กรรไกร วาสลีน ดอกไม้ที่ต้องการ อาจจเป็นดอกรัก กุหลาบ พุด มะลิ ฯลฯ และอาจจะมีคีมจับสำหรับเอาดอกไม้ออกจากเข็มได้ง่ายขึ้น
วิธีการร้อยมาลัยกลม (http://poopesirinapa.blogspot.com/)
1. คัดเลือกดอกหรือกลีบดอกให้ขนาดเท่าๆ กัน
2. การส่งกลีบหรือก้านดอก จะต้องให้ยาวเท่าๆ กันทุกกลีบ หรือทุกดอกทั้งในแนวเดียวกันและระหว่างแถวด้วย เพื่อให้มาลัยที่ร้อยเสร็จแล้วนั้นมีสัดส่วนและรูปทรงที่สวยงาม ดังนั้นในการร้อยดอกไม้แต่ละดอกหรือแต่ละกลีบ ควรจะต้องวัดก้านก่อนแทงใส่เข็ม
3. ร้อยแถวแรกหรือชั้นแรกให้เป็นวงกลมจัดระยะห่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน โดยเริ่มร้อยกลีบแรกเรียงจากซ้ายวนไปทางขวา ( ตามเข็มนาฬิกา) จนครบจำนวนกลีบตามต้องการ
4. ร้อยแถวที่ 2 โดยวางกลีบให้สับหว่างกับกลีบในแถวแรกทุกกลีบ จนครบจำนวนกลีบเท่ากับแถวที่ 1
ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยที่เกิดจากฝีมือการประดิษฐ์ประดอยของผู้ร้อยมาลัยผสมผสานกับความงามของดอกไม้ กลีบดอกไม้ ใบไม้นานาพันธุ์ จนเกิดเป็นรูปแบบและลวดลายวิจิตรตระการตรา มาลัยเป็นความงามที่บ่งบอกถึงความนุ่มนวล อ่อนโยน ความมีสมาธิของชนชาวไทย
มาลัยกลม หมายถึง มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นวงกลมและรูปทรงตามยาวตรงและขนานกันไปตลอดเข็ม นิยมร้อยตั้งแต่ขนาด 6 กลีบขึ้นไปจนถึง 12 กลีบ หรือมากกว่านี้ก็ได้ย่อมแล้วแต่ชนิดของดอกไม้ ถ้าดอกเล็กหรือกลีบเล็กก็ใช้จำนวนกลีบมาก แต่ถ้าดอกไม้ดอกใหญ่หรือกลีบใหญ่ก็ใช้จำนวนกลีบน้อย
มาลัยชายเดียว เป็นมาลัยที่มีลักษณะเป็นพวงกลม มีอุบะห้อยลงมาเป็นชายเพียงจุดเดียว อาจเรียกว่า มาลัยมือ หรือมาลัยคล้องแขน ถ้าใช้ในการทูลเกล้าฯ ถวายจะเรียกว่า มาลัยข้อพระกร นอกจากนี้ ยังใช้บูชาพระ หรือไหว้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
อุปกรณ์
- เข็มร้อยมาลัย ด้าย กรรไกร วาสลีน ดอกไม้ที่ต้องการ อาจจเป็นดอกรัก กุหลาบ พุด มะลิ ฯลฯ และอาจจะมีคีมจับสำหรับเอาดอกไม้ออกจากเข็มได้ง่ายขึ้น
วิธีการร้อยมาลัยกลม (http://poopesirinapa.blogspot.com/)
1. คัดเลือกดอกหรือกลีบดอกให้ขนาดเท่าๆ กัน
2. การส่งกลีบหรือก้านดอก จะต้องให้ยาวเท่าๆ กันทุกกลีบ หรือทุกดอกทั้งในแนวเดียวกันและระหว่างแถวด้วย เพื่อให้มาลัยที่ร้อยเสร็จแล้วนั้นมีสัดส่วนและรูปทรงที่สวยงาม ดังนั้นในการร้อยดอกไม้แต่ละดอกหรือแต่ละกลีบ ควรจะต้องวัดก้านก่อนแทงใส่เข็ม
3. ร้อยแถวแรกหรือชั้นแรกให้เป็นวงกลมจัดระยะห่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน โดยเริ่มร้อยกลีบแรกเรียงจากซ้ายวนไปทางขวา ( ตามเข็มนาฬิกา) จนครบจำนวนกลีบตามต้องการ
4. ร้อยแถวที่ 2 โดยวางกลีบให้สับหว่างกับกลีบในแถวแรกทุกกลีบ จนครบจำนวนกลีบเท่ากับแถวที่ 1
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)