การทำข้าวต้มมัด สันนิฐานว่าน่าจะเกิดมาจากความเชื่อด้านพระพุทธศาสนาที่ผู้คนสนใจนับถือศรัทธา โดยในตำนานเกี่ยวกับพระพุทธประวัติมีการเล่าถึงการนำข้าวต้มลูกโยน (ข้าวต้มมัดหางยาว ๆ ) ที่ในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้ากลับลงมาจากการจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประชาชนชาวเมืองที่ทราบข่าวก็พากันไปดักรอใส่บาตร แต่ด้วยมีผู้คนจำนวนมากทำให้เข้าไม่ถึง จึงมีการทำข้าวต้มลูกโยนในการใส่บาตร จนกลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ทำช่วงออกพรรษาของไทย จะต้้องมีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระภิกษุสงฆ์ ผู้คนจึงมีการรับเอาความรู้เหล่านี้มาสู่ยุคปัจจุบัน โดยเมื่อถึงเวลางานบุญต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงเข้าพรรษาจะมีการร่วมมือร่วมแรงในกลุ่มบ้าน หรือญาติพี่น้องมาร่วมกันห่อข้าวต้มมัด เพื่อนำไปทำบุญถวายพระ และแจกจ่ายแบ่งปันไปรับประทานเป็นของหวาน
ข้าวต้มมัดในปัจจุบันอาจจะมีความแตกต่างกันตามวัสดุพื้นถิ่น เช่น การนำใบจาก ใบลาน ไบมะพร้าวแทนไบตองกล้วย การทำไส้ของข้าวต้มมัดจากกล้วยสุก มาเป็นถั่วดำ ถั่วลิสง หรือบางชุมชนก็นำหมูมาใส่แทนที่เกี่ยวว่า มัดไต้ หรือบางชุมชนก็พัฒนาต่อไปเป็นข้าวตัมมัดคลุกมะพร้าวอ่อน จนหลาย ๆ กลุ่มนำมาพัฒนาเป็นวิสาหกิจของชุมชน สร้างรายได้ อาชีพให้กับกลุ่มสังคม
วิธีการทำข้าวต้มมัดตามแบบบ้านผม (ปัจจุบันมีหลายวิธีมาก ตามแต่ความถนัดของผู้ทำ)
- ขั้นตอนแรก นำข้าวเหนียวไปล้างทำความสะอาด ผึ่งไว้ (บางบ้านอาจจะแช่ให้นุ่นเล็กน้อย)
- ขั้นตอนที่สอง เตรียมกระทิเคี่ยวกับน้ำตาลให้มีความหนืดเล็กน้อย จากนั้นก็นำข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ เทลงไปผัดรวมกับกระทิที่เคี้ยวไว้ จนเข้ากันดี (บางบ้านอาจจะไม่ใส่กระทิ ก็ข้ามขั้นตอนสองได้เลย
- ขั้นตอนที่สอง เตรียมกระทิเคี่ยวกับน้ำตาลให้มีความหนืดเล็กน้อย จากนั้นก็นำข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ เทลงไปผัดรวมกับกระทิที่เคี้ยวไว้ จนเข้ากันดี (บางบ้านอาจจะไม่ใส่กระทิ ก็ข้ามขั้นตอนสองได้เลย
- ขั้นตอนที่สาม จัดเตรียมกล้วย (ผ่าตามยาว) จัดเตรียมใบตอง ( 2 ชั้นกันแตก) ให้ขนาดพอประมาณ จากนั้นตักข้าวที่ผัดกระทิแล้วใส่ใบตอง นำกล้วยที่เตรียวไว้วางบนข้าวแล้วก็ตักข้าวเทปิดกล้วย จากนั้นพับใบตองให้เรียบร้อย
- ขั้นตอนที่สี่ นำข้าวต้มมัดที่เราพับใบตองเรียบร้อยมาประกบกันสองอัน (ทำบุญกันเป็นคู่ ๆ จะได้ไม่แคล้วคลาดกัน ความเชื่อ) จากนั้นมัดด้วยตอกที่ทำจากไม้ไผ่
- ขั้นตอนที่ห้า นำข้าวต้มมัดที่เรียบร้อยแล้ว ไปต้ม หรือ นึ่ง ประมาณ หนึ่งชั่วโมง จากนั้นทิ้งไว้ให้พออุ่น ๆ เย็น ก็นำมารับประานได้
- ขั้นตอนที่สี่ นำข้าวต้มมัดที่เราพับใบตองเรียบร้อยมาประกบกันสองอัน (ทำบุญกันเป็นคู่ ๆ จะได้ไม่แคล้วคลาดกัน ความเชื่อ) จากนั้นมัดด้วยตอกที่ทำจากไม้ไผ่
- ขั้นตอนที่ห้า นำข้าวต้มมัดที่เรียบร้อยแล้ว ไปต้ม หรือ นึ่ง ประมาณ หนึ่งชั่วโมง จากนั้นทิ้งไว้ให้พออุ่น ๆ เย็น ก็นำมารับประานได้
** สามารถทำให้มีความหอมมากขึ้นด้วยการนำไปย่างไฟ และจะช่วยให้เรายืดอายุของข้าวต้มมัดได้นานขึ้น ไม่เสียเร็ว *** อาจจะเพิ่มรสชาดด้วยการเติมถั่วลงไป ***
เท่านี้ เราก็จะได้ของหวานอันเสียอร่อยไว้รับประทาน ซึ่งวัสดุที่ทำก็หาไม่ยาก ทำจาก ใบตอง กล้วย ข้าวเหนียว ตอกไม้ไผ่ กระทิ น้าตาล