อุปสมบท และบรรพชา ต่างกันอย่างไร
การอุปสมบท และการบรรพชา มีความเหมือนกันในส่วนของการสละ ออกจากบ้านเรือนและไปปฏิบัติถือศีลในอารามหรือวัด แต่มีความแตกต่างกันตามการใช้งาน คือ
การอุปสมบทจะใช้กับการบวชเป็นพระภิกษุ ถือปฏิบัติตามวินัยสงฆ์ 227 ข้อและธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ ของคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ส่วนการบรรพชาใช้กับการบวชเป็นสามเณร ถือปฏิบัติตามศีล 10 ข้อ
สิ่งที่ต้องมีในการบวช
- ไตรจีวร
ไตรจีวร คือ ผ้าจีวร ๓ ผืน คนไทยเรียกสั้นๆ ว่า ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า)
อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง
- บาตร บาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต
- พระอุปัชฌาย์
พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่หลัก 2 อย่างคือเป็นผู้รับผิดชอบและรับรองผู้บวชในพิธีบรรพชาอุปสมบทและเป็นผู้รับปกครองดูแล แนะนำ ตักเตือนและติดตามความเป็นอยู่ของผู้ที่ตนบวชให้
สำหรับผู้ที่จะบวชพระจะต้องมีคุณสมบัติ
-ต้องรู้เดียงสา คือ ผู้อุปสมบทต้องอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีขึ้นไป
-ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรงและโรคที่สังคมรังเกียจอื่น ๆ
-ไม่เป็นผู้มีอวัยวะบกพร่อง หรือพิการ
-ไม่เป็นคนทุรพล เช่น แก่เกินไป ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
-ไม่เป็นคนมีพันธะ คือ คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต
-ไม่เป็นคนต้องโทษ หรืออยู่ระหว่างถูกลงอาญา
-ไม่เคยต้องอาบัติปาราชิก ในการบวชครั้งก่อน
วันสุกดิบ
วันสุกดิบ คือวันเตรียมตัวก่อนวันทำพิธีบวช 1 วัน ก่อนหน้านี้เจ้าภาพ จะต้องเตรียมข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ สำหรับการบวช และเลี้ยงรับรองแขกไว้ให้เรียบร้อย.
ขบวนแห่ไปยังวัด แล้วแห่นาคไปยังโบสถ์ เวียนโบสถ์สามรอบแบบทักษิณาวรรต พร้อมด้วย เครื่องอัฏฐบริขาร ที่ใช้ในการบวช และของ ที่ถวายพระ จนครบแล้วจะให้นาคมาวันทาสีมา ส่วนเครื่องอัฏฐบริขาร และของถวายพระ จะนำไปตั้งในโบสถ์ก่อน
การโปรยทาน
“การโปรยทาน” เป็นคติทางพุทธศาสนา โดยยึดตามพุทธประวัติว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงสละเงินทองทรัพย์สมบัติแล้วออกผนวช โดยไม่ปรารถนาที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นการโปรยทานก่อนเข้าโบสถ์ของนาค จึงเป็นการแสดงว่าต่อจากนี้ไปนาคได้สละสมบัติทุกอย่างแล้ว ตามประเพณีนิยม เมื่อแห่นาคไปยังโบสถ์ เวียนโบสถ์สามรอบพร้อมด้วยเครื่องอัฏฐบริขารที่ใช้ในการบวช และของที่ถวายพระส่วนเครื่องอัฏฐบริขารและของถวายพระ จะนำไปตั้งในโบสถ์ก่อนการวันทาสีมา นาคจะจุดธูปเทียน ที่เสมาหน้าโบสถ์แล้วนั่งคุกเข้าประนมมือกล่าวคำวันทาสา แล้ว
กราบ ปักดอกไม้ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้ นำนาคมาที่หน้าโบสถ์ ‘นาคจะโปรยทาน’ เสร็จแล้วจะจูงนาคเข้าโบสถ์โดยบิดาจูงมือข้างขวา มารดาจูงมือข้างซ้าย พวกญาติคอยจับชายผ้าตามส่งข้างหลัง
การทำความดี ด้วยการอนุโมทนาบุญ
"อนุโมทนา" หมายถึง การพลอยชื่นชมยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว ขณะใดที่มีใจเบิกบาน พลอยชื่นชม ยินดี ในความดีของผู้อื่น ไม่ว่าประการใด ๆ ขณะนั้น เป็นกุศลจิต ครับ
อานิสงส์ของการอนุโมทนาบุญ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 26 ข้อ 44 ได้กล่าวถึงการอนุโมทนาบุญของเพื่อนนางวิสาขาไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระอนุรุทธเถระจาริกไปในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ไปเห็นทิพยวิมานหลังใหญ่ล่องลองอยู่ในอากาศ แวดล้อมไปด้วยอุทยานและสระโบกขรณี เจ้าของวิมานนั้นเป็นเทพธิดาวรรณะงาม มีรัศมีสว่างไปทั่วทุกทิศ เมื่อยามเยื้องกรายหรือร่ายรำก็มีเสียงทิพย์อันไพเราะ น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจดังขึ้น พระอนุรุทธเถระจึงถามเทพธิดาเจ้าของวิมานนั้นว่า นางทำบุญด้วยอะไรมาทิพยสมบัตินี้จึงเกิดขึ้น นางเทพธิดาตอบพระเถระว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเป็นเพื่อนของนางวิสาขามหาอุบาสิกา เมื่อเพื่อนของดิฉันสละทรัพย์ถึง 27 โกฏิ เพื่อสร้างบุพพารามมหาวิหาร และได้ชวนดิฉันและสหายอีก 500 คน ไปเที่ยวชม เมื่อดิฉันเห็นมิคารมาตาปราสาทที่เธอสร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ดิฉันเคารพแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใสในบุญของเธอ จึงอนุโมทนาบุญกับเธอออกไปว่า ‘สาธุ สาธุ’”
สถานที่บวช
- การบวชพระ หรือการอุปสมบทต้องทำเป็นสังกรรมภายในสีมา หรืออุโบสถ (โบสถ์) เท่านั้น และต้องมีพระภิกษุร่วมไม่น้อยกว่า 10 รูป